Author Topic: [GNS3 ] GNS3 - Graphic Network Simulator [21/07/10]  (Read 60972 times)

0 Members และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
[GNS3 ] GNS3 - Graphic Network Simulator [21/07/10]
« on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:27:40 am »



index

   - การติดตั้งและใช้งาน gns3 เบื้องต้น  
   - แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3
   - ทดลองสร้าง project ใน gns3 ครั้งแรก 
   - ปัญหาเรื่องของของการ save file ใน gns3
   - module / card ต่างๆ ที่ใช้กับ router ใน gns3
   - การตั้งค่า idlepc ใน gns3 
   - จำกัดการใช้งาน CPU ด้วย BES
   - การเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น ใน gns3
   - การเปลี่ยนโปรแกรม telnet client ใน gns3
   - ข้อมูลเกี่ยวกับ telnet client ต่างๆ
   - การทำให้อุปกรณ์ใน gns3 ติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้
   - การเชื่อมต่อ gns3 กับ loopback adapter
   - การเชื่อมต่อ gns3 กับอุปกรณ์จริง
   - การเชื่อมต่อ gns3 กับ vpcs   ** update
   - คำอธิบายเรื่อง nio แบบต่างๆ ของ dynamips/gns3** update


     ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

   - แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3 [v0.7RC1]
   - จะเซฟ config router ใน gns3 ได้ยังไงครับ
   - การ save vlan.dat สำหรับการใช้งานร่วมกับ NM-16ESW
   - config switch แบบไม่ง้อคำสั่ง vlan database
   - Guide : How to create SDM lab with GNS3
   - Spanning tree ใน GNS3
   - PIX Firewall กับ GNS3

    - การใช้ dynamips ทำ lab ขนาดใหญ่ๆ
    - วิธีการการเชื่อมต่อ lab จาก dynamips/gns3 ออกไปยัง switchจริง (สรุป)
    - สเป็คเครื่องคอมที่เหมาะสมสำหรับการใช้ทำ lab ด้วย dynamips / gns3


    Video Tutorial                                                                                                               

    - GNS3 Tutorial by Kati - Project
    - GNS3 Video Tutorial (จาก gns3.net)


memo

เนื้อหาจาก index ข้างบนนี้ผมเอามาจากต้นฉบับที่เขียนเขียนเอาไว้ที่บล๊อกของผมเอง ข้อมูลบางอย่างยังไม่ได้มีเวลาที่จะตรวจสอบ
หรือแก้ไขแต่ที่เอามาโพสไว้ก่อน เพราะไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ผมจะมีเวลาเอามาโพสรึเปล่า แล้วก็ไม่รู้ว่าบล๊อกของผมมันจะอยู่ไปได้
อีกนานแค่ไหน เพราะว่าผมไม่ค่อยได้ดูแลมันซักเท่าไหร่เลย (บางครั้งก็เลยปิดมันเอาไว้) ...

    Archive : http://katiproject.info/category/index#gns3

ปล.ยังไงถ้ามีความผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้เพื่อนๆสมาชิกทุกท่านเอาไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ... ^_^
« Last Edit: 27 กรกฎาคม , 2010, 11:19:49 pm by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
About GNS3
« Reply #1 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:29:22 am »


ในปัจจุบันถ้ามีการพูดถึงโปรแกรมที่เป็น network simulator หรือ โปรแกรมที่ใช้ในการจำลองอุปกรณ์ network เพื่อใช้ในการในการ
เตรียมตัวสำหรับสอบ certify หรือ ใช้ในการทดสอบทดลอง command ต่างๆของ cisco  ในสมัยก่อน ก็คงจะมีชื่อของ router sim,
net sim เป็นตัวหลักที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับในปัจจุบัน ก็คงจะมีชื่อของ gns3 เพิ่มขึ้นมาด้วยอย่างแน่นอน ด้วยอย่างแน่นอน

gns3 นั้น เป็นโปรแกรมจำลองอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค ที่มีข้อแตกต่างจาก simulator ทั่วๆไป  คือแทนที่จะใช้การทำงานแบบให้โต้ตอบ
กับคำสั่งตาม script ที่กำหนดเอาไว้ เหมือนกับ simulator ทั่วๆไป แต่ gns3 จะทำงานในรูปแบบของ emulator  ซึ่งจะสามารถ
ทำให้คอมธรรมดาๆตัวนึง สามารถจำลองตัวเองเป็น cisco router , firewall ฯลฯ ขึ้นมาได้ โดยใช้แค่ไฟล์ ios image ของ  router
หรือ ของ firewall รุ่นต่างๆเท่านั้น ส่วนเรื่องของการใช้งาน และการตอบสนองต่างๆนั้น ถือว่าออกมาเหมือนเราใช้อุปกรณ์จริงเลย

หลายๆคนอาจะคิดว่าโปรแกรม gns3 เป็นโปรแกรมที่ทำงานได้สมบูรณ์โดยตัวของมันเอง แต่จริงๆแล้ว gns3 ไม่ได้เป็นตัวจำลอง
การทำงานของอุปกรณ์เลย gns3 เป็นเพียงแต่ตัว front-end แบบ graphic ที่ใช้ติดต่อสั่งงานหรือจัดการเรื่องการคอนฟิก ให้กับตัว
emulator ต่างๆ เช่น dynamips หรือ qemu อีกทีเท่านั้น  (งานหลักด้านการจำลองอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมานั้นไม่ใช่งานของ gns3 )

เนื่องจากโปรแกรม gns3 นั้นเป็นโปรแกรมที่เราสามารถโหลดมาใช้งานได้ฟรีๆ เพียงแค่เรามีำไฟล์ ios image ก็สามารถใช้งานได้
ดังนั้น gns3 จึงเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวสอบลงไปได้อย่าง ทำให้เราสามารถสร้าง home lab
เป็นของตัวเองที่บ้านได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนไปหาซื้ออุปกรณ์ให้เปลือง หรือ ช่วยให้เราไม่ต้องไปลงทุนไปเช่าเวลา remote lab
เพื่อใช้งาน เหมือนเมื่อก่อนจึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายลงกว่าเดิมเป็นเท่าตัวเลย

สำหรับ gns3  นั้น ถ้าไม่นับข้อเสียในเรื่องของการกิน process ของ cpu สูง และปัญหาจุกจิกเล็กๆน้อยๆตามประสา emulator
ก็ถือว่าน่าใช้กว่าพวก simulator ตัวอื่นๆ เนื่องจากใช้ ios จริง เวลาที่ใช้งานก็จะมีการตอบสนองเหมือนกับใช้อุปกรณ์จริง ส่วน
ปัญหาเรื่องการใช้ cpu  usage ที่สูงนี้ ถ้ามีการตั้งค่าได้เหมาะสมก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม gns3 เบื้องต้น ผมได้ทำการเขียนเอาไว้ในในเว็บนี้และเว็บของตัวเองอยู่หลายๆตอนเหมืิอนกัน
ถ้าหากว่าสนใจก็สามารถเข้าไปลองอ่านดูกันได้ หวังว่าคงพอจะมีประโยชน์อะไรบ้างไม่มากก็น้อยครับ … ^_^


เอกสาร : GNS3 -  Graphical Network Simulator  By Mike Fuszner (version 1.0)

« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:29:32 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
การติดตั้งและใช้งาน gns3 เบื้องต้น
« Reply #2 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:32:41 am »


หลังจากที่ได้พูดถึงเรื่องทั่วๆไปของ gns3 กันไปบ้างแล้ว ว่ามันคืออะไร และ ทำงานอะไรได้บ้าง คราวนี้ผมก็จะมาพูดกันต่อถึงเรื่อง
การติดตั้งโปรแกรม gns3 กันต่อ เพื่อที่ผู้ที่สนใจ จะได้สามารถนำเจ้าโปรแกรมนี้ไปใช้ในการสร้าง lab network ขึ้นมาใช้งานได้

สำหรับข้อมูลและตัวอย่างข้างล่างนี้ จะเป็นการอธิบายขั้นตอนในการติดตั้งโปรแกรม gns3 รวมไปถึงการตั้งค่าต่างๆของโปรแกรม
ทั้งการตั้งค่าในส่วนหลักๆที่สำคัญ และการตั้งค่าในเรื่องปลีกย่อยต่างเท่าที่จำเป็น เพื่อที่เราจะได้สามารถใช้งานโปรแกรม gns3 ได้
ข้อมูลในกระทู้นี้คงจะเพียงพอสำให้ทำให้เราติดตั้งและสร้าง lab อย่างง่ายๆขึ้นมาใช้เองได้แล้ว (เราจะได้ลดค่าใช้จ่ายในการทำ lab )

รายละเอียดในส่วนอื่นๆที่ลึกขึ้นไปกว่านี้ เช่น การตั้งค่าในหัวเรื่องต่างๆแบบละเอียดๆ รวมไปถึงเรื่องของการประยุกต์ใช้งาน gns3
ในแบบต่างๆ ผมจะได้นำมาอัพเดทให้ได้อ่านกันในตอนต่อๆไป ตามที่จะพอมีเวลานะครับ สำหรับใครที่อ่านตามแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ
หรือไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ สามารถดูในส่วนที่เป็น tutorial ที่ผมทำเอาไว้ก็ได้ครับ .. ^_^


Tutorial : การติดตั้งและใช้งาน gns3 เบื้องต้น [ความยาว 16 นาที]

ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ สามารถดูในส่วนที่เป็น tutorial ที่ผมทำเอาไว้ก็ได้ครับ .. ^_^


# ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม gns3

ในการติดตั้งโปรแกรม gns3 นั้น หลักสำคัญก็คือเราจะต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรม gns3 มาจากเว็บไซท์ gns3.net จากนั้นก็
ให้ทำการติดตั้งโปรแกรม และตั้งค่าต่างๆเพื่อให้โปรแกรมใช้งานได้ จากนั้น ก็ให้ทำการเพิ่มไฟล์ ios image ที่เราจะใช้ในการ
จำลองอุปกรณ์ต่างๆลงไป แค่นี้เราก็จะสามารถใช้งานโปรแกรม gns3 ในการจำลอง lab network ขึ้นมาได้แล้วหละครับ

(ทดสอบโดยใช้  GNS3 v0.7 RC1  /  Winpcap 4.1.1 / Dynamips 0.2.8 RC2 / Qemu wrap / Pemu)

    การ download ไฟล์ที่จำเป็น

     - ทำการดาวน์โหลด GNS3 v0.7 RC1 all-in-one สำหรับ windows จากเว็บ gns3.net
       ซึ่งในโปรแกรมชุดนี้ จะมี Dynamips , Pemu และ Winpcap มาให้เรียบร้อยแล้ว
     - ดาวน์โหลด ios (จากเว็บไซท์ของ cisco หรือ แหล่งอื่นๆ)

   การติดตั้งโปรแกรมลงในระบบ

      - ติดตั้งโปรแกรม GNS3 ที่โหลดได้จากเว็บ (GNS3-0.61-win32-all-in-one.exe)
      - กดปุ่ม I agree เพื่อรับทราบข้อตกลงการใช้งาน เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งต่อไป
      - ระหว่างติดตั้ง ให้เลือกลง package ทั้งหมด ( winpcap , dynamips , pemu )
      - จากนั้น ให้กดปุ่ม next ไปเรื่อยๆ จนถึงขี้นตอนสุดท้าย กดปุ่ม finish
      - เมื่อติดตั้งเสร็จ จะมี icon ขึ้นมาที desktop สามารถคลิกเพื่อเรียกใช้งานได้เลย
      - หลังจากติดตั้งเสร็จ สามารถเปิดโปรแกรม GNS3 ขึ้นมาใช้งานได้เลย

   การใช้งาน GNS3 นั้น  จะต้องทำการ add ไฟล์ ios images ที่จะใช้งานในลักษณะเดียวๆกัน
   กับการกำหนด folder ที่เก็บ ios ของ Dynamips,Dynagen (จะเป็นการเพิ่ม ios ลงไปทีหลัง)


   
# ขั้นตอนการเซ็ตค่าต่างๆ (ครั้งแรก)

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว จะมี icon ของ gns3 ปรากฎขึ้นที่หน้าจอ desktop จากนั้น เราก็สามารถเริ่มต้น
การทำงานของ gns3 ได้ทันที ด้วยการคลิกที่ icon ที่อยู่บน desktop นั้น ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานครั้งแรก gns3
จะมี setup wizard ขึ้นมา เพื่อช่วยให้เราตั้งค่าพื้นฐานสองอย่าง เพื่อให้ gns3 นั้น สามารถทำงานได้

   setup wizard ( รูป )

    * ข้อที่ 1  จะเป็นการทำให้เราเข้าไปสู่หน้าจอของการตั้งค่า path ของ dynamips
      เพื่อทำการ ตรวจสอบ path และ ทดสอบการทำงาน ของโปรแกรม dynamips
       
    * ข้อที่ 2  จะทำให้เราเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่า ios image ของ gns3 เพื่อให้เราทำการ
      เพิ่มเติม ios images ให้กับ router ในระบบ และตั้งค่าปลีกย่อยอื่นๆ เช่น ตั้งค่า idlepc

  ถ้าหากว่าเรา ไม่ต้องการจะใช้งาน wizard ก็กดปุ่ม ok เพื่อข้ามการใช้งาน wizard ไปได้เลยครับ


การตั้งค่า path ของ dynamips  ( รูป)

การ test การทำงานของ dynamips-wxp ใน gns3 นั้น เราจะกดเลือก wizard ข้อที่ 1 หรือ เราจะเข้าไปตั้งค่าเองก็ได้
ถ้าหากเราต้องการจะเข้าไปตั้งค่าเอง เราจะต้องเข้าไปตั้งที่เมนู edit ไปที่เมนูหัวข้อ preferences แล้วดูในหัวข้อของ
dynamips หัวข้อย่อย excutable path ซึ่งค่าที่ปรกติจะเป็นค่าของ folder ชื่อ dynamips ที่อยู่ใน gns3 อย่างนี้  ..

เรื่องของการตั้งค่า path นั้น เป็นการกำหนด path ไปยัง folder ที่เก็บตัวโปรแกรม dynamips-wxp ซึ่งเป็นตัวที่ใช้
จำลองการทำงาน router ให้กับ gns3 ส่วนเรื่องของ working dyrectory นั้น ก็เป็น folder ที่เอาไ้วสำหรับเป็นพื้นที่
ในการทำงานของโปรแกรม gns3 สำหรับค่า default ในเรื่องนี้ ที่ gns3 ที่มีมาให้ก็มักจะเป็น folder ที่เป็น temp

ในการตั้งค่า path และ working directory นั้น หลังจากที่เราตั้งค่าเสร็จ (จริงๆไม่ต้องยุ่งอะไรกับมันเลยก็ได้) เราก็
จะต้องทำการ test ความถูกต้องของ path และ working directory ที่เรากำหนดค่าลงไปด้วย ซึ่งเราสามารถทำได้
โดยการไปกดปุ่ม test ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอ ที่เขียนว่า test เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของ gns3

หลังจากที่เราทำการ กดปุ่ม test เพื่อทดสอบการทำงานของ dynamips  ถ้าการทดสอบ path ของ dynamips เรียบร้อย
ก็จะมีข้อความขึ้นว่า "dynamips successfully started" ซึ่งถือว่า dynamips ใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าการทดสอบค่าตรงนี้
ไม่เรียบร้อย มีค่า มีค่า path หรือค่า working directory ที่ผิด อาจทำให้เกิด error เวลาทำการ test ในขั้นตอนนี้

ในการใช้งาน หรือ test การทำงานของ dynamips-wxp.exe ครั้งแรก จะมีเมนูเกี่ยวกับ security ขึ้นมาเตือน ให้เราเลือก
หัวข้อ Unbock เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้งานได้ ถ้ามาถึงขั้นตอนนี้ ก็ถือว่า dynamips ใน gns3 สามารถใช้งานได้แล้ว

มาถึงตรงนี้ หลังจาก test การทำงานของ dynamips และ ได้ทำการตั้งค่า ios images เรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าการตั้งค่าแบบ
ทั่วๆไป ก็คงจะถือได้ว่า ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จากนี้เราสามารถใช้ gns3 ในการสร้าง project ขึ้นมาใช้งานได้แล้วครับ ... ^_^

สำหรับเรื่องของ option ที่ชื่อว่า automatic clean the working directory ซึ่งอยู่ด้านล่างของหัวข้อ  working directory
ปรกติแล้วก็จะมีการติ๊กเพื่อเลื่อกค่านี้มาให้แล้ว แต่ถ้าเราต้องมีการใช้งานพวกไฟล์ต่างๆ จาก flash ของ router ตัวอย่างเช่น
ได้มีการสร้าง vlan.dat เอาไว้ หรือ มีการเก็บไฟล์อะไรเอาไว้ในนั้น ก็ไม่ควรเลือกค่านี้ ไม่อย่างงั้นเวลาที่ทำเราเลิกใช้งานและ
ได้ทำการปิดโปรแกรมไป ระบบก็จะทำการล้างไฟล์ต่างๆของ router ออกจาก working directory ของ project นั้นด้วย

สำหรับตัว automatic clean the working dir นี้ จะส่งกับ working directory ของระบบ และ working dir ของ project ด้วย



การตั้งค่า ios image  ( รูป )
 
ถึงแม้เราจะทำการขั้นตอนต่างๆในเรื่องของ dynamips ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ถึงตรงนี้เราจะยังไม่สามารถนำเอา router
ใน gns3 มาใช้สร้าง lab อย่างที่เราต้องการได้ เพราะว่ายังขาดสิ่งสำคัญไปอีกอย่างนึง ก็คือ เรายังไม่มี ios images
ที่จะให้ router ใช้งาน เพราะยังไม่ได้ทำการเพิ่ม ios images เข้าไปในระบบ

การตั้งค่า ios  จะใช้ wizard ข้อ 2 หรือ ไปที่เมนู Edit --> IOS Images and Hypervisor ก็ได้ จากนั้น ดูที่กรอบ setting
แล้ว ทำการกดปุ่มที่ หลังหัวข้อ Image file เพื่อทำการ browse ไฟล์ ios image ที่ต้องการขึ้นมา โดยไปคลิกที่ชื่อไฟล์
ที่ต้องการ จากนั้น กดปุ่ม open เมื่อมีรายชื่อ ios image ขึ้นมาให้กด save เพื่อบันทึกค่า ios image เพื่อเก็บเอาไว้ใช้งาน


การตั้งค่า path ในหัวข้อ General  ( รูป)

ถึงแม้การตั้งค่าหลักๆในการใช้งาน ที่ gns3 ระบุให้เราต้องตั้งค่าเพื่อใช้งานนั้น จะมีเพียงสองหัวข้อ แต่จริงๆแล้วก็ยังมีการ
ตั้งค่าอื่นๆอีก เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานของเรา  อย่างเช่นการตั้งค่า ในหัวข้อ gnenral ก็เป็นอีกอันที่เราควรสนใจ

       ไปที่เมนู Edit --> Preference --> General

ในการตั้งค่า path ในส่วนนี้ จะเป็นการตั้งค่า path เพื่อระบุถึง folder ที่เราจะใช้เก็บไฟล์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับงานของเรา
เช่น การตั้งค่าในหัวข้อ project directory และ การตั้งค่้าในหัวข้อ ios / pix directory

สำหรับการตั้งค่าของ project directory นั้นทำเพื่อกำหนด folder ที่เราจะเอาไว้เก็บไฟล์ project ที่เราสร้างขึ้น และ ไฟล์
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พวกไฟล์ระบบต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน รวมไปถึงพวก snap shot ด้วย การตั้งค่า สามารถ
ทำได้โดยไปที่ช่องว่างที่เว้นเอาไว้ แล้วใส่ข้อมูลที่อยู่และชื่อของ folder ที่เราต้องการลงไป

เช่นถ้าผมต้องการจะให้ folder ชื่อ mylab ที่อยู่ใน drive c: ของผม ทำหน้าที่เป็น project directory  ซึ่งเอาไว้ เก็บไฟล์
project ของ gns3 ที่สร้างขึ้น ก็ต้องนำ location และชื่อ folder ไปใส่เอาไว้ ตรงช่องว่าง ที่เว้นเอาไว้ ให้มีค่า เป็น C:\mylab

ส่วนการตั้งค่า ios / pix directory จะต้องทำเพื่อ กำหนด folder ที่เราจะเอาไว้เก็บไฟล์ ios images หรือ ใ้ช้เก็บ pix image
ที่เราจะต้องนำมาใช้งาน เวลาที่เราจะ add ไฟล์เหล่านี้เข้าไปใน gns3 การตั้งค่าก็ทำแบบเดียวกันกับการตั้งค่า project directory
ก็คือเอาค่า location และ ชื่อ ของ folder ที่เราต้องการนั้น มาใส่ลงไป

หลังจากนั้นเวลาที่เราทำการเพิ่มไฟล์ ios image (ตอนอยู่ในหัวข้อ ios and hypervisor) เวลาที่เราทำการกดปุ่มเพื่อหาไฟล์
ios หรือ pix image ที่จะนำมาใช้งาน ระบบก็จะทำการเปิด folder ที่เราตั้งเอาไว้ให้เป็น ios / pix directory ขึ้นมาให้เลยครับ

สำหรับการใช้ gns3 บน windows ถ้ามีไม่มีการตั้งค่าอะไรตรงนี้เลย ค่า default จะระบุไปที่  /temp ของระบบ แต่เพื่อความสะดวก
ในการใช้งาน เราอาจจะตั้งค่าให้ระบุไปยัง folder ที่สร้างขึ้นบน desktop ของเราก็ได้นะครับ (จริงๆเอาไว้ที่อื่นแล้วทำ shortcut ก็ได้)


memo (http://archive.katiproject.info/gns3/gns3-installation-xp)

การหาค่า location ของ folder นั้น ทำได้โดยการไปคลิกที่ folder แล้วกดเม้าส์ขวา จากนั้นไปที่หัวข้อ location แล้วให้ทำการ
ลากเม้าส์ตรงข้อความที่เป็น location จากนั้นก็ทำการ copy มา paste ลงไปในตำแหน่งทีต้องการจากนั้นใส่เครื่องหมาย \

ในการเริ่มต้น start อุปกรณ์ต่างๆใน project เป็นครั้งแรก  ถ้าเราไม่เคยได้มีการตั้งค่า idle pc เอาไว้  ก็จะทำให้ dynamips-wxp 
ซึ่ง เป็น emulator ของ gns3 ก็จะใช้ cpu เต็มที่ ทำให้เครื่องของเราอืดได้ เราจึงต้องทำการตั้งค่า idle pc ให้กับ router ที่สร้างขึ้น
เพื่อลดการใช้งาน cpu ของ dynamips ลง แต่ถ้าตั้งค่าแล้วไม่ลดลงเราก็อาจจะหาโปรแกรมมา limit การใช้ cpu อีกชั้นนึงก็ได้

สำหรับ รายละเอียดการตั้งค่า idle pcและ การจำกัดการใช้ cpu ผมจะได้เขียนอธิบายแยกเอาไว้อีกหัวข้อนะครับ ... ^_^
« Last Edit: 08 ธันวาคม , 2010, 11:01:17 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
ทดลองสร้าง project ใน gns3 ครั้งแรก
« Reply #3 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:36:27 am »
[ รอการแก้ไขเพิ่มเติม ]


สำหรับผู้ที่ได้ทำการติดตั้งโปรแกรม gns3 ลงไปในเครื่องเรียบร้อยแล้ว และได้ทำการตั้งค่าต่างๆตามที่ได้ผมได้เขียนอธิบายเอาไว้
ในตอนก่อน  วันนี้เราก็คงจะต้องมาคุยกันถึงเรื่องของการเริ่มต้นทำการสร้าง project ขึ้นมาใช้งาน เพราะว่าเวลาที่เราทำ lab ใน gns3
เราจะต้องมีการสร้าง project ขึ้นมารองรับกับ lab ที่เราทำเสมอ ไม่เช่นนั้นข้อมูลของการเชื่อมต่อต่างๆที่เราได้ทำเอาไว้ รวมทั้งพวก
ค่าคอนฟิกที่เราได้ตั้งเอาไว้ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ก็อาจจะไม่ได้ถูกเก็บเอาไว้ ทำให้เกิดปัญหากับเราเวลาที่จะเอา lab มาใช้ในภายหลัง

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า gns3 การใช้งาน interface และเมนูอะไรอย่างไร ก็ไปอ่านได้จาก แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3 

เรื่องของ project และ option ต่างๆ

สำหรับเรื่องของการ project ขึ้นมาใช้งานนั้น ในโปรแกรม gns3 เวอร์ชั่นปัจจุบันนั้น  เราสามารถทำการสร้าง project ขึ้นมาได้ 2 แบบ
คือการสร้าง project แบบอัตโนมัต ที่จะมี dialog box ขึ้นมาถามทุกครั้ง เวลาที่เราเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน ส่วนอีกแบบนึงนั้นก็คือ
การสร้าง project โดยไปคลิกที่เมนู file –> new project  เพื่อทำการสร้าง project ขึ้นมาใช้งานได้ตามที่เราต้องการ

ในการสร้าง project ทั้งสองแบบนั้น รายละเอียดหลักๆที่มีเหมือนกันก็คือ มันก็จะมี dialog box  ที่ชื่อว่า new project ขึ้นมาถามเรา
เพื่อให้เรากรอกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ project ที่เราต้องการจะสร้างขึ้น ถ้าเราใส่ชื่อของ project  ที่ต้องการลงไป และให้เราตั้งค่า
option ที่จะกำหนดให้กับ project ที่สร้างขึ้น ก็ถือว่าเราได้สร้าง project ขึ้นมาใช้งานแล้ว
   
เรื่องของ การสร้าง project และ ค่า option ที่เราใส่ลงไปนี้ จริงๆแล้วก็ทำขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาที่เราทำการสร้างการเชื่อมต่ออุปกรณ์
แล้วเกิดลืมสร้าง project ขึ้นมาเพื่อรองรับทำให้เมื่อปิดโปรแกรมแล้ว ข้อมูลการเชื่อมต่อต่างๆนั้น รวมทั้งไฟล์ต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะที่เรา
ทำการจำลอง lab ขึ้นมาใช้งานนั้น มันจะหายไปหมด จะไม่ถูกบันทึกไว้ หรือถ้าเราเลือกให้ save ข้อมูล เราก็จะมีแค่ไฟล์ .net เท่านั้น

ในเรื่องของ option ต่างๆ ที่มีการถามเวลาที่เราทำการกำหนดให้กับ project นั้น เวลาที่เราสร้าง project ขึ้นมาแล้ว โดยปรกติ จะมี
ตัว option ให้เราเลือกใช้อยู่ 2 อย่าง ก็คือ save nvram and other disk file แล้วก็ export router config file ซึ่งเวลาที่เราทำการ
new project นั้น เราจะเลือกแค่อันใดอันนึง หรือว่าเราจะทำการเลือก option ทั้งหมดเลยก็ได้ครับ

           – ถ้าเราเลือก new project แบบ save nvram and other disk file ตัวคอนฟิกจะอยู่ในไฟล์ของ nvram
              โดยจะนำไฟล์ที่เป็น nvram และ diskfile ต่างๆ ที่ใช้งาน มาเก็บเอาไว้ใน folder ที่กำหนดเอาไว้ …

           – ถ้าเราเลือก new project โดยเลือกแบบ export router config file มันจะแยกคอนฟิกออกมาเก็บเป็นไฟล์
              แล้วเวลาที่เราทำการเรียก project ตัวนั้นขึ้นมาใช้งาน router ก็จะโหลด config จากไฟล์ที่แยกไปนั้นมาใช้

           – ถ้าเราไม่เลือกอะไรเลย เราจะได้ไฟล์ project เป็นไฟล์ .net ขึ้นมาแค่ไฟล์เดียว (ต่อให้ไม่ได้เซฟก็จะมีไฟล์นี้)


ปรกติแล้วเวลาที่เราทำการสั่ง new project ขึ้นมา จะมีการสร้างไฟล์ .net ชื่อเดียวกันกับชื่อที่เราตั้งให้กับ project ในไฟล์นี้จะยังไม่มี
ข้อมูลอะไรที่เกียวกับการเชื่อมต่อเลย จะมีแต่ข้อมูลในส่วนของ [gns3-data] เท่านั้น ไฟล์จะมีขนาดเล็กมากๆ ถ้าหากเราทำการเชื่อมต่อ
อุปกรณ์ต่างๆเอาไว้ ข้อมูลการเชื่อมต่อจะถูกบันทึกค่าเมื่อเวลาที่เราสั่ง save project แล้วเท่านั้น ถ้าหากว่าตลอดเวลาที่เราใช้งาน lab
เราไม่ได้ทำการ save ข้อมูลเอาไว้เลย เวลาเราปิดโปรแกรม แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ เราก็จะมีแค่เพียงไฟล์ project เปล่าๆ ที่เป็น .net เท่านั้น

เวลาเราเลือก option ในการ new project นั้น ปรกติแล้ว ถ้าเราไม่เลือกอะไรเลย ก็จะมีการสร้างแค่ไฟล์ .net ขึ้นมาเฉยๆ แต่ถ้าเราเลือก
option ตัวใดตัวนึง หรือ ทั้งสองตัว ก็จะมีการสร้าง folder ขึ้นมาเพิ่มเติมให้เราอีก ตามจำนวน option ที่เลือก นอกจากนี้ก็ยังจะมีการสร้าง
folder อื่นๆ ขึ้นมาใน project directory ของเราเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของ project อีกด้วย (เรื่อง folder ผมเขียนไว้ใน memo นะครับ)


การนำเลือกอุปกรณ์มาใช้งาน

การเลือกอุปกรณ์มาใช้งาน ทำได้โดยดูที่กรอบหัวข้อ  node type ด้านซ้ายมือ แล้วคลิกที่รูปของ router ในรุ่นที่เราได้ตั้งค่า ios เอาไว้
แล้วให้ทำการลากเข้ามาในหน้าจอหลัก ตามจำนวนที่เราต้องการ จากนั้นก็ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าหากัน ตาม network diagram ที่
เราต้องการได้เลย  ในโปรแกรม gns3 เวอร์ชั่นล่าสุดนั้น จะมีอุปกรณ์ต่างๆที่เราสามารถเลือกใช้งานได้ดังนี้

         – Router 1700             – ASA Firewall               – Atm Switch
         – Router 2600             – PIX Firewall                – Frame Relay Switch
         – Router 3600             – Juniper Router           – Qemu Host   
         – Router 3700             – Ethernet Switch        – Cloud
         – Router  7200             – Atm Bridge     

สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราสามารถนำมาใช้งานนั้น ก็มีให้เราเลือกได้หลายแบบ บางอย่าง เช่นพวก router หรือ firewall ก็มีความสามารถ
ในการทำงานที่ทัดเทียมกับอุปกรณ์จริงได้ในระดับนึงเลยl แต่สำหรับอุปกรณ์อื่นๆที่เหลือนั้น บางอย่างก็อาจจะทำงานได้ในระดับนึงเท่านั้น
อย่างเช่น ethernet switch หรือ framerelay switch เป็นต้น ดังนั้น ถ้าต้องการการทำงานที่สมบูรณ์ขึ้น ก็อาจจะมีการนำเอา router บางรุ่น
มาจำลองการทำงานแทนอุปกรณ์อย่าง ethernet switch  และ  framerelay switch ก็ได้ครับ

สำหรับการจำลองอุปกรณ์อย่าง switch นั้น ถ้าหากเราจะเอา router มาใช้แทน ก็อาจะต้องเพิ่ม module อย่าง nm-16esw ลงไปใน router
ที่เราสร้างเเพื่อให้ router รองรับการทำงานด้าน switch ได้ ซึ่งตรงนี้เราจะเลือกใช้ ios ที่รองรับคำสั่งของ switch ด้วยจึงจะใช้งานได้ไม่งั้น
ถ้าเราต้องการจะใช้งานความสามารถแบบ swith แบบเต็มที่จริงๆ เราก็อาจจะเอา switch จริงๆมาใช้งานด้วยกันกับ gns3 เลยก็ได้


การเชื่อมต่ออุปกรณ์
 
การเชื่อมต่อกันระหว่าง router ให้คลิกที icon menu ที่เขียนว่า add link แล้วเลือกชนิดของการเชื่อมต่อที่เราต้องการ ซึ่งในขณะนั้น icon
ที่เราคลิกก็จะเปลี่ยนเป็นกากบาท จากนั้นไปคลิกที่ router ที่เป็นต้นทางแล้วลากเส้นเชื่อมต่อไปยัง router ที่ต้องการก็จะได้การเชื่อมต่อ
ของอุปกรณ์ระหว่างกันแล้ว หลังจากนั้น ถ้าไม่ต้องการสร้างเพิ่มอีก ให้กดที่ icon เดิมอีกครั้ง icon ของ add link จะกลับมาเหมือนเดิม

ปรกติแล้วเวลาที่เราเลือก add link แล้วทำการเชื่อมต่อระหว่าง router  หรืออุปกรณ์ต่างๆ บางครั้งจะพบว่าเราไม่สามารถเลือกเชื่อมต่อ
ระหว่าง interface ที่เราต้องการได้ เพราะว่าเวลาคลิกเพื่อเชื่อมต่อมันก็จะเชื่อมให้เราแบบอัตโนมัต ดังนั้น ถ้าเราอยากเลือก interface ที่
เราต้องการ เวลาที่ทำการเชื่อมต่อเวลาที่เราจะ add link ให้เลือกที่เป็น manual ก่อนจึงจะสามารถเลือก interface ในการเชื่อมต่อได้

ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการที่จะเสียเวลาในการเลือกหัวข้อ manual ก่อนทำการ add link ในทุกๆครั้ง เราสามารถไปที่เมนู edit แล้วก็เข้าไป
ที่หัวข้อ preference ดู tab ด้านซ้ายที่เขียนว่า general จากนั้นเข้าไปที่หัวเรื่องที่ชื่อ gui settings จากนั้น ให้เราไปติ๊กเครื่องหมายถูก
ตรงที่หน้าคำว่า always use manual mode when add links แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

       edit –> preference –> general –> gui settings –> always use manual mode when add links

 
การเข้าไปคอนฟิกค่าต่างๆให้อุปกรณ์

การคอนฟิกค่าในที่นี้ ไม่ให้หมายถึงการที่เราเข้าไป config ที่ตัว router นะครับ แต่เป็นการตั้งพวกค่าเบื้องต้น ทาง hardware ให้กับ
อุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นมาเท่านั้นเอง เช่น ถ้าเราต้องการไปเพิ่มค่า ram size ,nvram size หรือว่าต้องการไปตั้งค่า confreg (register)
ให้กับ router เราก็ สามารถทำได้ โดยการไปคลิกที่ตัว router จากนั้นให้ทำการดับเบิ้ลคลิกหรือกดขวา แล้วเลือกหัวข้อ configure
เพื่อเ้ข้าไปตั้งค่าต่างๆให้กับอุปกรณ์ หรือ จะลากเม้าส์เพื่อเลือกอุปกรณ์หลายๆตัว แล้วทำแบบเดียวกันก้ได้ครับ

หลังจากคลิกเข้ามาแล้ว เราจะอยู่ในหัวข้อ node configurator ซึ่งเอาไว้ตั้งค่าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ก็ให้เราทำการเลือกที่ชื่อของ router
อย่างเช่น router ที่เราสร้างขึ้นชื่อ r0 เราก็ไปคลิกที่หัวข้อ r0 จากนั้น เราก็ไปเลือกตั้งค่า ในหัวข้อต่างๆที่เราต้องการได้เลยครับ สำหรับ
อุปกรณ์อย่างอื่นๆที่ไม่ใช่  router ก็จะต้องมีค่าต่างๆก่อนเหมือนกัน เพื่อที่จะให้อุปกรณ์เหล่าๆนั้นสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง การตั้งค่า
แบบนี้ เราก็จะสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้เข้าไปตั้งค่าได้


การเพิ่ม module/card ให้อุปกรณ์

ปรกติแล้ว router ที่สร้างใน gns3 นั้น สามารถทำการเพิ่มเติม module / card ต่างๆเข้าไปได้อีกหลายๆอย่าง ซึ่งการที่จะสามารถรู้ได้ว่า
เราจะทำการเพิ่มเติมอะไรเข้าไปใด้บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของ router ที่เราเลือกใช้เป็นหลัก ถ้าหากว่า router ที่เราเลือก เป็นรุ่นใหญ่ๆหน่อย
เราก็จะสามารถเลือกที่จะเพิ่มเติม module / card ต้างๆ เข้าไปได้อีกหลายอย่าง

ในบางครั้ง ถ้าหากเราเลือกที่จะทำการ add link ไปยังอุปกรณ์ ที่เป็น ethernet fast ethernet หรือ serial ถึงแม้วว่าเรายังไม่ได้มีการ
ไปเพิ่มพวก module / card อะไรเข้าไปเลย แค่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เฉยๆ โปรแกรม gns3 ก็อาจจะทำการใส่เพิ่ม module
สำหรับการเชื่อมต่อแบบนั้นๆ โดยอัตโนมัต  (ถ้า add link แบบ manual อาจจะไม่การเพิ่ม module ต่างๆให้)

หากเราต้องการจะเพิ่ม module/card ต่างๆให้กับ router ด้วยตัวเอง สามารถทำได้  โดยคลิกที่ router แล้ว กดเม้าส์ขวา เลือก configure
แล้วดูที่หัวข้อ slot แล้วก็ทำการเพิ่มเติม module/card จาก list ที่มีเข้าไปได้ เราสามารถที่จะใช้เม้าส์ทำการเลือก router หลายๆตัวก็ได้
แล้วค่อยดับเบิ้ลคลิก หรือ กดขวา เลือก config เพื่อเข้าไปเพิ่ม module/card ให้กับ router ทั้งหลายที่เราเลือกก็ได้ (จะทำให้ง่ายขึ้น)


การสั่งการทำงานของอุปกรณ์

ถ้าหากเราจะเริ่มต้นการทำงานของ router ตัวใดตัวหนึ่งใน project  สามารถทำได้ด้วยการคลิกที่ router กดเม้าส์ปุ่มขวาแล้วเลือกที่
หัวข้อ start   และถ้าต้องการหยุดการทำงานของ router ก็ให้คลิกที่ router อีกครั้งแล้วกดเม้าส์ปุ่มขวา แล้วเลือก stop (ถ้าต้องการ
start/stop ทั้งหมด ให้กดที่ปุ่มในเมนูด้านบน) นอกจากนี้ เราสามารถสั่งงานผ่าน ส่วนที่เป็น command mode ของ gns3 ก็ได้ โดย
ใช้คำสั่ง start หรือstop แล้ว ตามด้วยชื่อของ อุปกรณ์ และ ถ้าหากต้องการให้ start/stop อุปกรณ์ทั้งหมด ให้ตามด้วยคำว่า all


การเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์

สำหรับ การเข้าไปทำการคอนฟิกตัว router ที่เราได้สร้างขึ้นมานั้น สามารถทำได้โดย อันดับแรก ต้องทำการ start  ตัว router ที่ต้องการ
จะคอนฟิกขึ้นมาก่อน จากนั้น ก็ไปคลิกที่ router ตัวที่ต้องการ แล้วกดเม้าส์ปุ่มขวา แล้วเลือกที่หัวข้อ console จากนั้นก็จะมีกรอบหน้าจอ
ขึ้นมา ให้เราเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ได้ เหมือนเวลาที่เราเข้าไปคอนฟิกทาง console port ของ router หรือถ้าต้องการจะ console เข้าไป
ยัง router ทั้งหมดทราเนาสร้างขึ้นมา ก็ให้เราไปคลิกที่ปุ่ม telnet to all ios

นอกจากการใช้คำสั่งจากเมนูแล้ว หากต้องการจะใช้คำสั่งใน command mode ก็สามารถทำได้โดยพิมพ์คำสั่ง telnet แล้วตามด้วยชื่อ
ของ router ตัวที่ต้องการ (ต้องพิมพ์ชื่อเหมือนกันเลยนะ ) หรือ telnet /all เพื่อเข้าไปยัง router ทั้งหมด



Memo

สำหรับเรื่องของ folder ต่างๆที่จะถูกสร้างขึ้น หลังจากที่เราทำการเลือก option ต่างๆ ในตอนที่เราสร้าง project นั้น ปรกติ folder เหล่านี้
จะถูกสร้างเอาไว้ใน folder ที่เป็น project directory ของเรา (ค่านี้สามารถดูได้จาก edit –>preference–>general–>project directory)

ถ้าหากว่าเราเปิดเข้าไปใน project directory ของเรา เราก็อาจจะพบกับ folder ต่างๆหลายๆอัน รูปแบบของชื่อ folder ต่างๆ ก็จะถูกแบ่ง
ด้วยเครื่องหมายขีด ถ้าเรามีการสร้างหลายๆ project เวลาที่เราเข้ามาดูตรงนี้ เราก็อาจจะงงๆได้ ว่าแต่ละ folder  มันคืออะไรยังไงกันแน่
ในเรื่องนี้ ผมก็มีข้อสังเกตง่ายๆอย่างนึงที่ต้องบอกไว้ ก็คือว่า ถ้า folder ไหน มีชื่อข้างหน้าเหมือนกัน ก็จะเป็น folder ที่ใช้เก็บข้อมูลของ
project เดียวกัน และ ถ้าชื่อหน้าของ folder ตรงกับชื่อของไฟล์ .net ตัวไหน  folder นั้น ก็จะใช้เก็บข้อมูลของไฟล์ .net ตัวนั้นนั้นเอง

สำหรับ folder ที่มีชื่อตามด้วย _working จะเอาไว้เก็บ nvram และพวก disk file ต่างๆ ซึ่งปรกติ คอนฟิกของ router ที่เรา save ไว้ ก็จะ
ถูกเก็บเอาไว้ในส่วนนี้นั่นเอง ส่วน folder ที่ตามด้วย _configs จะเอาไว้สำหรับ เก็บคอนฟิกของ router ทั้งหมดแยกเอาไว้ต่างหาก ใช้ใน
กรณีที่เราต้องการจะ export ไฟล์คอนฟิกของ router ออกมาเพื่อให้สะดวกในการนำไปแก้ไข

สำหรับ _working ซึ้งเป็น working dir ของ project ซึ่งเอาไว้เก็บ disk file ต่างๆของ router ที่สร้างขึ้น ถ้าไม่ต้องการให้ ระบบลบ disk file
และ filash ของ router หลังจากปิดโปรแกรม ให้ไปที่เมนู edit –> preference –> dynamips แล้วให้ไปติ๊กตรงที่ที่หัวข้อ automatic clean
the working directory ให้เป็นช่องว่าง ก็เป็นอันใช้ได้ (ระบบจะได้ไม่ลบไฟล์พวกนี้ทิ้งไป)

ส่วน folder ที่ตามด้วย _snapshot นั้น ไม่ใช่ folder ที่ถูกสร้างจากการเลือก option เหมือนกับสองแบบแรก แต่จะเป็น folder ที่ถูกสร้าง
เพราะเราทำการกดปุ่ม snap shot เพื่อที่จะเอาไว้เก็บไฟลคอนฟิก และ ไฟล์ต่างๆ ทั้งหมดที่เรามีการใช้งานอยู่ ในช่วงเวลาที่เราสั่งให้
บันทึก snapshot ซึ่งรูปแบบของมัน จะขึ้นต้นด้วยชื่อไฟล์ของ project ตามด้วย _snapshot จากนั้นก็ _วันเดือนปี แล้วก็ _เวลาที่บันทึก

« Last Edit: 26 มกราคม , 2010, 03:48:15 am by = O_o" = »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
ปัญหาเรื่องของของการ save file ใน gns3
« Reply #4 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:43:21 am »
[รอการแก้ไข/ปรับปรุง]

ผมคิดว่าคงจะมีหลายๆคนที่ใช้งาน gns3 แล้วเกิดปัญหาที่ว่า  หลังจากทำการ new project ขึ้นมาแล้ว และได้ทำการ
เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงได้ทำการคอนฟิกพวก router ต่างๆไปเรียบร้อยแล้ว  แต่พบตอนหลัง กลับมาทำการ
เรียกใช้โปรเจ็คมานั้นขึ้นมาอีกครั้ง แล้วพบปัญหา อย่างเช่น topology ของการเชื่อมต่อที่ทำไว้นั้นหายไป รวมไปถึง
เรื่องของการที่ คอนฟิกของ router ที่เราได้ทำเอาไว้นั้นหายไป ทำให้ต้องมานั่งคอนฟิกใหม่อีกรอบนึง

สำหรับปัญหาที่เราทำการสร้าง project ขึ้นมา แล้วทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ แล้วภายหลัง ตัวอุปกรณ์และการเชื่อมต่อ
ที่ทำไว้ใน project ตัวนั้นได้หายไป ปัญหานี้ก็ไม่มีอะไรมากมาย หลักๆแล้วก็คือเกิดจากที่ เราทำการสร้างการเชื่อมต่อก็จริง
แต่ว่าหลังจากเชื่อมต่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราลืม save ข้อมูลพวกนี้ลงใน project นั่นเอง ทำให้พอเปิด project ขึ้นมาใหม่
ก็เลยเจอแต่หน้าจอว่างๆ ที่ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรเลย

ส่วนปัญหาในเรื่องของการที่คอนฟิกของ router ที่เราได้เคยทำการบันทึกเอาไว้ัมันหายไปนั่น ก็อาจจะเกิดได้จาก 2 สาเหตุ
ก็คือ อาจจะเปิดการ การที่เราทำการ new project แล้ว ไม่ได้เลือก option อะไรเลย ทำให้ไม่มีการบันทึกค่าคอนฟิกต่างๆ
ที่เราตั้งให้กับ router ที่เราสร้างขึ้น ส่วนอีกปัญหานั้น ก็อาจจะเกิดจากการที่เรา สร้างทำการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ แต่ว่าเรานั้น
ไม่ได้ทำการสร้าง project ขึ้นมารองรับการเชื่อมต่อนั้น ทำให้ ค่าต่างๆที่เราตั้งเอาไว้ ทั้ง ข้อมูล topology การเชื่อมต่อ และ
พวกคอนฟิกต่างๆที่เราตั้งให้กับ router นั้น ไม่ได้ถูกบันทึกเอาไว้เลย (เหมือนเป็นสร้างการเชื่อมต่อเพื่อใช้ครั้งเดียวแล้วก็จบ)

สาเหตุที่ปัญหาพวกนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ ก็เพราะว่าในการสร้างงานใน gns3 นั้น เรามี 2 ทางเลือกด้วยกัน ทางเลือกแรกก็คือ
เราสามารถทำการ new project ขึ้นมา แล้วจากนั้นก็ค่อยทำการ  เพิ่มอุปกรณ์ และ สร้างการเชื่อมต่อต่างภายใน workspace
ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ จากนั้นค่อยเซฟโปรเจ็ค ส่วนอีกแบบนึงก็คือการที่ เปิดโปแกรมมาแล้ว เราเริ่มสร้างการเชื่อมต่อเลย
โดยที่ยังไม่มีการสร้าง โปรเจ็คขึ้นมารองรับ การทำงานทั้งสองอย่างนี้ถ้าเราดูเผินๆแล้วก็คงจะเหมือนกัน แต่ว่าจริงๆแล้ว ผลของ
การกระทำทั้ง 2 อย่างนี้ จะมีผลต่างกันโดยสิ้นเชิงจนทำให้เราอึ้งได้เลยหละครับ …..


การใช้งานโดยสร้าง project

สำหรับการงานแบบที่มีการสร้าง project ขึ้นมาก่อนนั้น ผมเคยอธิบายเอาไว้ในเรื่องการใช้งาน gns3 ครั้งแรกแล้ว
ว่าเมื่อเราสร้าง project แล้ว โดยปรกติ จะมีการสร้าง folder เพื่อใช้เก็บไฟล์คอนฟิกของโปรเจ็ค , ไฟล์คอนฟิก
ของเร้าท์เตอร์ รวมไปถึงพวก disk file ต่างๆของระบบที่เราใช้งานด้วย ทุกอย่างจะถูกสร้างขึ้นมาอย่างเป็นระบบ

ซึ่งข้อดีของการสร้าง project ก่อนก็คือ เวลาที่เราสั่งเซฟโปรเจ็ค เราจะได้ทั้งไฟล์คอนฟิก และ ไฟล์ประกอบต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องมาอยู่ใน folder เดียวกัน ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะใช้งานไฟล์โปรเจ็คอันนี้ใหม่อีกครั้ง เพื่อ start ระบบ
ขึ้นมา เราก็จะยังได้ระบบที่มีค่าของคนฟิก เป็นของเดิมตามที่เราคยได้ทำไว้

  – ถ้าเราเลือก new project แบบ save nvram and other disk file ตัวคอนฟิกจะอยู่ในไฟล์ของ nvram
    โดยจะนำไฟล์ที่เป็น nvram และ diskfile ต่างๆ ที่ใช้งาน มาเก็บเอาไว้ใน folder ที่กำหนดเอาไว้ …

  – ถ้าเราเลือก new project โดยเลือกแบบ export router config file มันจะแยกคอนฟิกออกมาเก็บเป็นไฟล์
    แล้วเวลาที่เราทำการเรียก project ตัวนั้นขึ้นมาใช้งาน router ก็จะโหลด config จากไฟล์ที่แยกไปนั้นมาใช้

  – ถ้าเราไม่เลือกอะไรเลย เราจะได้ไฟล์ project เป็นไฟล์ .net ขึ้นมาแค่ไฟล์เดียว (ต่อให้ไม่ได้เซฟก็จะมีไฟล์นี้)

สำหรับไฟล์ project ที่เราสร้างขึ้นมานั้น จะถูกเก็บเอาไว้ใน folder ที่เรากำหนดเอาไว้ให้เป็น project directory
ส่วนพวก nvram และ diskfile ต่างๆนั้น  จะถูกเก็บเอาไว้ใน folder ที่มีชื่อเดียวกันกันกับชื่อไฟล์ project ของเรา
แล้วตามด้วย_working ส่วนพวก config ของ router นั้น ถ้าเราเลือกให้มีการ export router config file ก็จะมีการ
สร้าง folder เอาไว้อีกอัน โดยจะมีชื่อเดียวกันกันกับชื่อไฟล์ project ของเรา แล้วตามด้วย_workingเพื่อเอาไว้เก็บ
config ของ router (คอนฟิกนี้เราสามารถใช้ text editer เปิดเข้าไปแก้ไขได้)

ลองสังเกตดีๆ ถ้าเราสั่ง wr ที่ตัว router เพื่อทำการบันทึกค่า ค่าจะเก็บอยู่ใน nvram แต่ถ้าเราเลือก option ที่เป็น
export router config file เวลาที่เราเซฟโปรเจ็ค ตัวค่าต่างๆในคอนฟิก ของ router ที่อยู่ nvram ก็จะถูก export
ออกมาด้วย โดยจะเห็นได้จากการแสดงข้อมูลในกรอบของ console  ครับ


การใช้งานโดยไม่สร้าง project

ส่วนการทำงานโดยที่ไม่สร้าง project ขึ้นมาก่อนนั้น  เป็นเรื่องที่พบได้ค่อนข้างบ่อยใน gns3 เวอร์ชั่นก่อนๆ
เพราะว่าจะตอนที่เราเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานนั้น มันจะไม่มี pop-up ขึ้นมาถามแบบของเวอร์ชั่นปัจจุบันนี้
ก็เลยทำให้เราสามารถลากอุปกรณ์เข้ามาใช้งาน และ ทำการเชื่อมต่อได้เลย (จริงๆหลายๆคนก็ชอบทำแบบนี้)
พอทำการคอนฟิกไปจนกระทั่งเสร็จตามต้องการ แล้วก็ปิดโปรแกรมไป งานที่ทำไว้ก็จะหายไปหมดเลย ..

หากว่าเราเพิ่งนึกออกทีหลังว่า ตอนทำ lab เราไม่ได้ส้ราง project ขึ้นมาใช้งาน แล้วกลัวจะเกิดปัญหาขึ้นมา
ถ้าเรายังใช้งาน lab อันนั้นอยู่ ก็ยังพอจะมีทางแก้ไขให้มันกลับมาอยู่ในรูปของ projcet ได้ สำหรับขั้นตอน
ในการทำเรื่องนี้ก็ไม่ยากอะไรครับ  แค่เรากลับไปคลิกที่เมนู file แล้วเลือกที่ new project อีกครั้งนึงจากนั้น
ระบบจะถามว่า เราจะ apply ข้อมูล project อันนี้ กับงานของเราหรือไม่ ก็ให้เราตอบ yes ไป แล้วจากนั้น
เมื่อระบบทำการปรับงานของเราให้อยู่ในรูปของ project เสร็จเรียบร้อย เราก็สั่ง save projecct ได้เลยครับ

(ตอนสร้าง project อย่าลืมเลือก option ด้วย ไม่อย่างนั้นเราจะได้ไฟล์ project ที่เป็น .net เพียงอย่างเดียว)


memo (http://archive.katiproject.info/gns3-lab-trick-tip/gns3-save-project-problem)

สำหรับคนบางคนเวลาลากอุปกรณ์เข้าไปเชื่อมต่อใน workspace ก็มักจะทำงานกันจนเพลิน ทำให้ลืมเซฟโปรเจ็ค
แต่ก็ได้ทำการคอนฟิกอะไรลงไปมากมาย และหลังจากนั้นก็ wr ไปเพื่อเก็บค่าคอนฟิกของ router หลังจากนั้นก็
อาจจะสั่งให้ gns3 ทำการเซฟโปรเจ็คภายหลัง แล้วปิดโปรแรมไปเพราะคิดว่าเสร็จแล้ว พอเปิดมาอีกทีข้อมูลต่างๆ
ที่ทำการคอนฟิกเอาไว้ กลับหายไปหมดเลย ก็อาจจะเพราะไม่ได้ัตั้งค่าให้เก็บพวก nvram and other disk file ก็ได้
« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:33:58 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
การตั้งค่า idlepc ใน gns3
« Reply #5 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:44:43 am »


ในการใช้งาน gns3 บน windows นั้น ถ้าเราเริ่ม start อุปกรณ์ ที่อยู่ใน project ตัวใดตัวนึง ตัวโปรแกรม dynamips-wxp.exe
ซึ่งทำงานหลักในด้านการ emulator ตัวอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะเริ่มต้นการทำงานขึ้นมา ซึ่งพอโปรแกรมนี้ทำงาน มันก็จะใช้งานcpu
อย่างเต็มที่ ตั้งแต่แรกๆเลยทีเดียว ทำให้เครื่องที่มีทรัพยากรไม่พอจนอาจจะทำให้เกิดปัญหาเครื่องทำงานอืด หรือ ทำให้เครื่อง
ของเค้าค้างไปเลย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบกันได้บ่อยๆ

การแก้ไขปัญหาอย่างนี้ ที่นิยมทำกันได้อยู่ 2 แบบ ก็คือ ทำการตั้งค่า idle pc ให้กับ อุปกรณ์ เพื่อให้อุปกรณ์ลดการใช้งาน cpu ลง
จากเดิม หรือ จะใช้วิธีหาโปรแกรมจากภายนอก มาใช้จำกัดการทำงานของ cpu ก็ได้จากทั้งสองวิธีนี้ การตั้งค่า idle pc เป็นเรื่องที่
ใกล้ตัวที่สุดที่เราควรจะลองทำดูก่อน แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยกว่าที่ต้องการ ก็ค่อยว่ากันอีกที ในเรื่องของการหาพวก
โปรแกรมลดการใช้งาน cpu หรือ จำกัดการใช้งาน cpu มาช่วย

ค่า idle pc นั้น จะใช้ในการบอกให้dynamips ทำการพักการทำงานของ virtual router เป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้ dynamips ต้อง
ทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้งาน cpu ของเครื่องคอมของเราด้วย การตั้งค่า idle pc ใน gns3 สามารถทำได้ 2 แบบ
คือ การตั้งค่าที่ตัว router ตัวใดตัวนึงใน project หรือ จะไปตั้งค่าให้กับไฟล์ ios image ที่เราจะนำมาใช้สำหรับ router ก็ได้ แจาถ้า
เราจะเลือกตั้งค่าให้กับ router ก็สามารถจะทำได้ทั้งการพิมพ์คำสั่งใน console หรือ ใช้การคลิกเพื่อตั้งค่าจากเมนูก็ได้

การตั้งค่า idle pc ให้กับ router

การตั้งค่า idle pc ด้วยเมนูใน gns3 สามารถทำได้โดย ไปคลิกที่ router ตัวใดตัวนึง จากนั้นให้ทำการ เลือกที่ start เพื่อ
สั่งให้ router ตัวนั้นทำงานขึ้นมาก่อน จากนั้นให้คลิกที่ router แล้วกดเม้าส์ขวาอีกทีจากนั้นเลือก idle pc แล้วรอให้ระบบ
ทำการคำนวนค่าที่เหมาะสมมาให้เรา จากนั้นก็ให้เราเลือกค่าที่ต้องการค่าที่โปรแกรมแสดงนั้นมีหลายค่า ที่เหมาะสม ก็จะ
มีเครื่องหมาย * ขึ้นมาข้างหน้า ให้เราเลือกค่าที่น้อยที่สุด

    

หลังจากเลือกค่าที่ต้องการได้แล้ว ก็จะมี dialog แจ้งว่าได้ทำการ apply ค่า idlepc ที่ต้องการให้กับ router
เรียบร้อยแล้ว ซึ่งค่าที่ได้นี้ จะถูกนำไปบันทึกให้เป็นค่า idlepc ของ ios images ที่ router ตัวนั้นใช้งานอยู่

        

ถ้าเราอยากตั้งค่า idlepc ด้วยการพิมพ์คำสั่งใน console ขั้นตอนการหาค่า ก็ใช้วิธีเดียวกันกับแบบข้างบน ก็คือ
อันดับแรก ต้องสั่งให้ router ตัวที่ต้องการ start การทำงานขึ้นมาก่อน ด้วยคำสั่ง start <ชื่อ router> จากนั้นให้
ทำการใช้คำสั่ง idlepc get <ชื่อ router> เพื่อให้ระบบทำการคำนวนหาค่า idlepc ที่เหมาะมาขึ้นให้เราเลือก

ระบบจะคำนวนหาค่า ซักพักนึง จากนั้น เมื่อได้ค่าที่เหมาะสม ก็จะมีการแสดง dialog ขึ้นมา ก็ให้ก็ให้ทำการเลือกค่า
เหมือนกับแบบข้างบน คือเลือกค่าที่มีเครื่องหมาย * อยู่ด้านหน้า และ เป็นค่าที่น้อยที่สุด จากนั้ ก็พิมพ์หมายเลขของ
ลำดับที่อยู่ด้านหน้าของค่า idlepc ลงไป ในช่องว่าง แล้วก็กดปุ่ม ok ถ้าค่าที่ได้นั้นเหมาะสม การใช้ cpu ก็จะลดลง

             

ถ้าค่าที่ได้ยังไม่ช่วยให้ cpu ทำงานลดลง สามารถคำนวนหาค่าใหม่ได้อีกจนกว่าจะพอใจ แล้วค่อยทำการบันทึกผล


การตั้งค่า idle pc ให้กับ ios images

ปรกติแล้ว router ที่เรานำมาใช้งาน จะถูกตั้งค่าเอาไว้ให้ใช้ ios image ตัวที่ถูกกำหนดค่าไว้เป็น default ของแต่ละ platform
เท่านั้น ดังนั้น หากมีการตั้งค่า idle pc ให้กับ router ตัวใดตัวนึง ใน platform ไหน ค่า idle pc ที่ถูกตั้งไว้ ก็จะถูกนำไปใส่เป็น
ค่า idle pc ของ  ios images ตัวที่เป็น default นั้นด้วย  เช่น ถ้าเราติดตั้ง ios image สำหรับ router 3640 เอาไว้ซัก 2-3 ตัว
แล้วก็มีการติดตั้ง  ios image ของ router รุ่น 3660 อีกตัวนึง ซึ่ง router ทั้งสองตัวนี้ จัดว่าอยู่ใน platform เดียวกัน คือ 3600

ดังนั้นเวลาเราจำลองอุปกรณ์จาก router ใน plat form 3600 ระบบก็เลือกไฟล์ ios image ตัวใตตัวนึง จากที่มีอยู่มาใช้ในการ
จำลองอุปกรณ์รุ่น 3600 ขึ้นมาใช้งาน ไฟล์ ios ที่ถูกเลือกมาใช้งาน จะมีการเลือก ios image มาใช้งานกับอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น
เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น ปรกติจะเป็นไฟล์ที่ถูกตั้งค่าเอาไว้ให้เป็น default ios สำหรับ platform อันนั้น


          

ในบางครั้งเราอาจจะเคยมีการหาค่า idle pc ที่เหมาะสม ของ ios image แต่ละตัวเอาไว้แล้ว หรือ ได้ค่าที่เหมาะสมจากที่อื่น
แล้วเราต้องการที่จะตั้งค่า idlepc ให้กับไฟล์ ios image ด้วยตัวเอง ก็สามารถที่ ตั้งค่าให้กับ ios image ที่ต้องการได้โดย
ไปที่เมนู Edit > IOS Images and Hypervisors จากนั้นดับเบิ้ลคลิกทีชื่อของไฟล์ ios ที่เราเคยติดตั้งไว้ แล้วดูที่กรอบชื่อ
setting หัวข้อย่อย idle pc จากนั้นให้ เอาค่า idle pc ที่ได้มาใส่ลงไป แล้วกดปุ่ม save เพื่อบันทึกค่า ก็จะเป็นอันว่าเสร็จสิ้น
ขั้นตอนของการตั้งค่า idle pc (แบบตรงๆ) ให้กับ ios image แล้วหละครับ

ในกรณีที่เรามีการติดตั้งไฟล์ ios image สำหรับแต่ละ platform ลงไปหลายตัว ปรกติแล้วระบบจะทำการเลือกใช้งาน ตัว ios
image ที่ถูกตั้งค่าเอาไว้เป็น default สำหรับ platform นั้นๆ ซึ่งมีได้ platform ละอันเดียวเท่านั้น แต่เราก็ยังสามารถที่จะเลือก
ให้ ios image อันอื่นๆที่มีอยู่ ให้เป็น default ของ plat form ต่างๆได้เช่นกัน

สำหรับการเลือกโดยให้ไปดับเบิ้ลคลิก ที่ชื่อของไฟล์ ios ตัวที่เราต้องการจะเลือกใช้ จากนั้นก็ให้ติ๊กที่ช่องด้านล่างสุดซ้ายมือ
ที่เขียนเอาไว้ว่า   default images for this play form  แล้วจากนั้นก็กด save ไฟล์นั้นก็จะเป็นเสร็จครับ


memo (http://katiproject.info/gns3/gns3-idle-pc-setting)

ค่า idel pc นั้น เป็นค่าที่คำนวนได้จาก ios ที่เราใช้ จะไม่ขึ้นกับเครื่องสเป็คหรือทรัพยากรต่างๆของคอมที่เราใช้
ดังนั้น ถ้าเราใช้ ios เวอร์ชั่นเดียวกัน แต่มีฟีเจอร์เซ็ทที่ต่างกัน ก็จะมีค่า idle pc ที่ต่างกัน และ ค่าที่สามารถ
คำนวนออกมาได้ ก็จะเป็นค่าเฉพาะของตัว ios ที่ใช้นั้น จะเอาค่าของอันอื่นมาใช้แทนกันไม่ได้ และถ้าใน project
ของเรามีการใช้ ios ที่แตกต่างกัน ก็ควรจะตั้งค่าให้ idle pc ให้กับ router ที่ใช้ ios ตัวที่ต่างกันนั้นด้วย

เท่าที่ผมทราบ สำหรับ pemu ซึ่งเป็น pix firewall emulator ที่มาพร้อมกันกับชุดของ gns3 นั้น จะไม่มี
การทำงานที่เกี่ยวกับ idle pc เลย การตั้งค่า idle pc จะมีผลกับ dynamip ซึ่งเป็น ios emulator เท่านั้น
ถ้าหากเราใช้ pemu แล้วมีปัญหาเรื่องการใช้ cpu เยอะ จะต้องใช้โปรแกรมจำกัดการใช้งาน cpu มาช่วย

- เพิ่มเติม -

ถ้าหากว่าค่า idle pc ที่เราทำการหามาได้นั้น ไม่ได้ช่วยให้ การทำงานของ cpu ลดลง เราก็สามารถที่จะทำการหาค่านี้
อีกครั้งนึง หรือ อีกหลายๆครั้งก็ได้ หาจนกว่าจะได้ค่าที่ทำให้การทำงานของ cpu นั้น มีค่าลดลงจากเดิมอย่างมากๆ

ปรกติแล้วค่า idlepc ที่เหมาะสม จะช่วยลดการใช้งาน cpu ลงได้ตั้งแต่หลังช่วงของการ boot ตัว router ขึ้นมาใช้งาน
หมายถึงว่า พอผ่านช่วงที่มีการ extract ios image ไปแล้ว การทำงานของ cpu ก็จะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆจนถึงระดับต่ำ

จากการลองใช้งานดูพบว่า บางครั้ง ค่า idlepc ที่หาได้ ก็จะมีทั้งแบบที่ทำงานได้ตลอดเวลาตั้งแต่เราเริ่มบูทเร้าท์เตอร์เลย
กับอีกแบบนึงจะเป็นค่า idlepc ที่จะเริ่มลดการใช้งาน cpu ต่อเมื่อเร้าท์เตอร์ได้เข้าสู่ mode ต่างๆของเร้าท์เตอร์แล้วเท่านั้น
ถ้าหากเร้าท์เตอร์ตัวใดตัวนึงหรือทั้งหมดมีการหลุดออกไปจาก user mode (time out ) ก็จะทำให้มีการใช้ cpu สูงขึ้นอีก

ถ้าหากเราพบว่า ค่า idlepc ที่เราใช้งานอยู่ ทำให้มีการใช้งาน cpu ลดลงได้เพียงบางช่วงเวลา เช่น เร้าท์เตอร์ที่เราใช้งาน
ตัวใดตัวนึงเกิดการ time out แล้วหลุดจาก mode  ที่กำลังใช้งานอยู่ แล้วพบว่ามีการใช้งาน cpu ที่สูงขึ้น หรือว่า เต็มร้อย
และการใช้งาน cpu จะกลับมาลดลงเป็นปรกติเมื่อเราทำให้เร้าท์เตอร์กลับเข้ามาหน้าจอของ user mode หรือ mode อื่นๆ

(เราอาจจะลองกด enter หลายๆหน เพื่อให้ router กลับเข้าหน้า prompt แล้วดูว่ามีการใช้งาน cpu ที่ลดลงหรือไม่)

ถ้าหากว่าเราพบปัญหาเช่นนี้ เราก็สามารถแก้ไขได้โดยตั้งค่า exec-timeout ของ line console 0 ซึ่งใช้ในการ telnet
เข้ามายังตัว router ให้มีค่ามากขึ้น หรือ ยกเลิก exec-timeout เพื่อป้องปัญหาที่จะเกิด และต้องทำกับ routerทุกตัว

นอกจากนี้ ในส่วนของการที่ การใ้ช้ cpu สูงขึ้น เมื่อเร้าท์เตอร์ค้างการทำงานในขณะที่มีการแสดงพวก message ต่างๆนั้น
ให้แก้ไขด้วยการตั้งค่า logging synchronous เพื่อไม่ให้มีการค้างอยู่ที่หน้าจอการแจ้ง message ต่างๆ เราจะต้องทำแบบนี้
กับเร้าท์เตอร์ทุกตัวที่เราสร้างขึ้นเช่นกัน ไม่เช่นนั้น วิธีนี้ก็อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สำหรับขั้นตอนการตั้งค่ามีดังนี้  …

        Router>en
        Router#conf t
        Router(config)#line con 0
        Router(config-line)#exec-timeout 0 0
        Router(config-line)#logging synchronous

การแก้ไขปัญหาแบบนี้ โดยไปตั้งค่า exec-timeout ของ  router ทุกตัว ใน lab ให้เป็น 0 หรือ ให้มีระยะเวลาเพิ่มขึ้นมากๆ จะทำเพื่อลด
การเกิด time out  หรือ ยกเลิกการ timeout ของ router เพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน cpu เต็ม 100 % เกิดขึ้นมา

สำหรับบางคนที่คิดว่า การกลับไปทำการหาค่า idle pc ค่าอื่นๆที่เหมาะสม น่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วกว่า ก็สามารถทำแบบนั้นไปก็ได้
แต่วิธีการนี้อาจสะดวกและรวดเร็วกว่าการเสียเวลาเพื่อหาค่า idle pc จนได้ค่าที่ใช้งานได้ตลอดเวลาโดยไม่เกิดปัญหาเลยก็ได้

ค่า exec-timeout นั้น ค่าปรกติจะอยู่ที่ 10 นาที ถ้าอยากจะยืดเวลา เป็นซัก 3ชั่วโมง เราก็อาจจะใส่ค่าลงไป เป็น exec-timeout 180 0
(180 นาที 0 วินาที) แต่ถ้าเราใช้ค่าที่เป็น 0 0 ก็จะหมายถึงการสั่งไม่ให้มีการ time out  ครับ …


Tutorial

การลดการใช้งาน cpu ด้วยการตั้งค่า idle pc นั้น ผมเคยทำให้ดูคร่าวๆไว้ใน tutorial ชุดแรก ส่วนของวันนี้จะเป็นการแสดงวิธี
การตั้งค่า idle pc ทั้งสองแบบ และจะได้แสดงผลของการใช้ cpu ให้ดูด้วยว่า ถ้าเลือกค่าได้อย่างเหมาะสม จะทำให้การใช้งาน
cpu ก่อนตั้งค่ากับหลังตั้งค่าแตกต่างกันขนาดไหน ^_^

view : flash tutorial download
« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:31:45 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
จำกัดการใช้งาน CPU ด้วย BES
« Reply #6 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:48:18 am »


ตอนที่แล้วนั้น ผมได้พูดถึงวิธีการลดการใช้งาน cpu ของ dynamips-wxp ที่อยู่ใน gns3 ด้วยการตั้งค่า
idle pc ไปเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ เรามาพูดในกันส่วนของ โปรแกรมภายนอก ที่ใช้จำกัดการใช้งาน cpu
ซึ่งเป็นอีกทางเลือก สำหรับคนที่ประสบปัญหา เครื่องช้า หรือ ค้าง เวลาเราใช้งาน project ซึ่งโปรแกรมที่จะ
เข้ามาช่วยจำกัดการทำงานตรงนี้ ใน document ของ gns 3 ได้แนะนำก็คือโปรแกรมชื่อ BES นั้นเอง

BES  เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับช่วยจำกัดการใช้งาน cpu ของโปรแกรมต่างๆ ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ
จุดประสงค์แรกเริ่มของ BES ก็เพื่อใช้ลดการทำงานของ cpu ทำให้ cpu ร้อนน้อยลง เป็นเหมือนกับพวก
ซอฟท์แวร์ทำความเย็นอะไรแบบนั้น แต่ด้วยความสามารถแบบนี้ มันก็เลยกลายเป็นของจำเป็น สำหรับคนที่ใช้
gns3 เพราะ dynamips บน windows และ pemu  นั้น มีการใช้ cpu usage ที่สูงมาก

ในบางครั้งเวลาเราใช้ gns3 ในการทำ lab แล้วมีปัญหาการใช้ cpu ที่สูง ถ้าหากเราทำการแก้ไขด้วยการ
ตั้งค่า idle pc ไม่ได้ เราสามารถใช้โปรแกรม BES ในการจำกัดการใช้ cpu usage ของ โปรแกรม
dynamips-wxp.exe หรือ pemu.exe ซึ่งเป็นตัวหลักในทำงานด้าน emlator ได้

ถ้าคุณสนใจจะลองหา BES มาใช้ดูบ้าง ก็สามารถไปดาวน์โหลดได้ที่ mion.faireal.net/BES นะครับ
โปรแกรมที่ให้ดาวน์โหลดในเว็บนั้น จะเป็นตัวโปรแกรมเฉยๆ ไม่ต้อง install ใช้แค่ unzip ออกมาก็พอ
ส่วนการใช้งานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ผมจะได้อธิบายการใช้งานมันเอาไว้ แล้วลองทำตามกันไปเลยก็ได้นะครับ
แต่ถ้าถ้าอ่านแล้วยังไม่เห็นภาพ ยังไงก็สามารถดูหรือดูได้จาก tutorial ข้างล่างนี้เลยครับ .. ^_^


การเรียกใช้งาน BES

การใช้งาน BES ทำได้โดยทำการเรียก BES ขึ้นมาใช้งานก่อน แล้วจึงค่อยเปิดใช้งาน GNS3 จากนั้น
ทำการสลับหน้าจอกลับไปที่หน้า BES อีกรอบ แล้วทำการกดที่ปุ่ม target เพื่อเลือกโปรแกรมที่ต้องการ
จะจำกัดการใช้งาน จากนั้นก็จะมี list ของโปรแกรมต่างๆที่กำลังทำงานอยู่ในเครื่องของเรา

ในกรณีที่ เราใช้งานในการจำลอง router ให้เราเลือก dynamips-wxp.exe  แล้วกดปุ่ม limit this
จากนั้นจะมีหน้าจอขึ้นมาให้เราทำการ confirm ว่าต้องการจะ limit การใช้งานหรือไม่ ให้ตอบ yes

ในกรณีที่เราต้องการจะ limit การทำงานให้มากขึ้นกว่าค่าปรกติ ให้เราเลือกกดที่ปุ่ม control จากนั้น
ก็จะมีหน้าจอขึ้นมา แสดง target ต่างๆที่เราได้ทำเอาไว้ หากต้องการจำกัดการใช้ cpu เพิ่มขึ้นอีกก็ให้
ทำการเลือกแถบเลื่อนด้านใต้ของ target นั้นๆ ไปทางขวา ให้ค่าในกรอบมีเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากว่าเรา
ไม่ต้องการจะ limit การทำงานของโปรแกรมนั้นอีกแล้ว ให้ทำการกดที่ปุ่ม unlimit  ครับ

สำหรับการใช้งาน ในครั้งต่อๆไป ถ้าเราเคยตั้งค่าให้โปรแกรมตัวไหนเป็น target ไปแล้วครั้งนึง
ถ้าหากเราเปิด BES ขึ้นมาใช้งานในครั้งต่อไป เมื่อเรากดปุ่ม target เพื่อดู list ของโปรแกรม แล้ว
เราสั่ง limit  การทำงานอีกครั้ง มันก็จะ limit ตามค่าที่ตั้งไว้ในครั้งก่อน จนกว่าเราจะยกเลิกค่า หรือ
เปลี่ยนแปลงค่าที่ตั้ง (หรือ ลำดับการเป็น target ถูกแทนที่ด้วยโปรแกรมอื่นๆ)

การที่จะมีเครื่องหมาย
  • หรือ [-] อยู่หน้าชื่อไฟล์ที่เป็น target นั้น ก็เป็นการบอกสถานะของโปรแกรม

ว่าจัดเป็นพวก
  • foe / [ - ] friend หรือ  unknow ซึ่งค่าตรงนี้ เราสามารถเลือกให้กับโปรแกรมได้


หากต้องการจะปิดการทำงานของโปรแกรม ในกรณีที่เราไม่ได้ limit การทำงานของโปรแกรมอะไรเอาไว้
เราก็กดที่ปุ่ม exit ที่หน้าหลักได้เลย แต่ถ้าเรา limit เอาไว้ ให้เราไปเลือกที่ unlimit all แล้วสั่ง exit ครับ

Tutorial  : flash video


memo (http://katiproject.info/gns3/limit-cpu-with-bes)

ในการปรับจูนค่าเพิ่มเติมในหน้า control นั้น ถ้ามีการ limit ค่าที่ไม่เหมาะ หมายถึงว่า คุมให้ใช้งาน cpu
ได้น้อยเกินไป อาจจะทำให้เวลาที่เรา console เข้าไป config อุปกรณ์ อาจจะเกิดปัญหาค้างหรืออืดได้

ถ้าเทียบ BES กับการตั้งค่า idlepc แล้ว BES นั้นใช้งานสะดวกกว่า เพราะเลือกกำหนดค่าได้ตามต้องการ
แต่ถ้าเราเทียบในเรื่องประสิทธิภาพในการลดการทำงานของ cpu ปรากฎว่าการตั้งค่า idlepc ที่เหมาะสมนั้น
จะทำให้ dynamips ใช้ cpu น้อยกว่าการใช้ BES เป็นอย่างมาก และไม่ทำให้โปรแกรมทำงานช้าลงเลย

ค่าต่างๆที่เราตั้งให้กับ BES นั้น จะเก็บอยู่ที่ไฟล์ bes.ini ซึ่งจะอยู่ใน folder ของ BES ซึ่งค่าแต่ละอย่าง
จะอยู่ต่อจากหัวข้อที่มีเครื่องหมาย [  ] ซึ่งตรงนี้ เราสามารถใช้ text editor เข้าไปปรับแก้ หรือ ลบออกได้

ปล.สำหรับผู้ที่ใช้ linux หากต้องการจำกัดการใช้งาน cpu usage ของ pemu หรือ program ต่างๆ
ที่ทำงานบน linux ก็สามารถใช้โปรแกรมชื่อ cpu limit แทนได้เหมือนกันครับ (cpulimit.sourceforge.net)
« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:32:12 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -


ปกติในการที่เราจะเข้าไปทำการคอนฟิกตัวอุปกรณ์อย่าง router นั้น จะมีการติดต่อที่นิยมทำกันอยู่ 2 แบบ
ก็คือการทำการต่อสาย console จาก pc ไปยัง router ซึ่งเป็นการติดต่อเข้าไปที่ line console ของ router
ส่วนอีกแบบ คือ การติดต่อผ่านทางการ telnet ไปยัง ip ของ router ซึ่งจะเป็นการติดต่อเข้าไปที่ line vty

ในการคอนฟิกอุปกรณ์จำลองใน gns3 นั้น เวลาเราจะติดต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อทำการคอนฟิกค่า เราก็สามารถใช้
วิธีการติดต่อกับอุปกรณ์ได้ทั้งสองแบบเช่นกัน แต่ก็จะมีวิธีการที่สะดวกที่สะดวกที่สุดคือ การติดต่อผ่าน console
เพื่อเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ เพราะเป็นฟีเจอร์ที่มีมาอยู่แล้วในตัว gns3

ส่วนการ telnet ไปยัง ip ของ router นั้น จริงๆก็ทำได้เช่นกัน แต่จะมีรายละเอียดอีกเล็กน้อย (เอาไว้คุยกันวันหลัง)

การที่เราจะเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ใน gns3 นั้น โดยทั่วไป เราสามารถเลือกใช้เมนู console เพื่อที่จะติดต่อเข้าไป
ที่อุปกรณ์ หรือ จะใช้การ telnet จาก command mode ของ gns3 ก็ได้  แต่จะไม่ใช่การ telnet ด้วย ip

การใช้การเชื่อมต่อผ่าน console เข้าไปยังอุปกรณ์นั้น เราสามารถทำได้โดยการที่เรา ไปคลิกที่อุปกรณ์ที่ต้องการ
แล้วกดเม้าส์ขวา เลือกที่เมนู console หลังจากนั้น โปรแกรม gns3 ก็จะไปทำการเรียกโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น
terminal program ในการติดต่อสื่อสารขึ้นมาทำงาน

ส่วนการ telnet ผ่าน command mode ของ gns3 นั้น ไม่ใช่การ telnet ด้วย ip แต่เป็นการ telnet ด้วย
ชื่อของอุปกรณ์ เช่น telnet R0 ( ชื่อของอุปกรณ์ต้องใช้ตัวอักษรตามที่ตั้งไว้เท่านั้น / เป็น case sensitive )

*** เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับการเข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ก็คือ การที่เราจะเข้าไปคอนฟิก router ได้นั้น เราจะต้อง
ทำการ start การทำงานของมันขั้นมาก่อนนะครับ ไม่เช่นนั้นมันก็จะไม่มีอะไรขึ้นมาปรากฎให้เราเห็นเลย


memo (http://katiproject.info/gns3/connect-to-device-gns3)

หลักกการทำงานจริงๆ ในการทำงานของ การใช้คำสั่ง console กับการ telnet ด้วยชื่อของอุปกรณ์นั้น จริงๆแล้ว
ก็คือ ทำการ telnet ไปยัง ip ที่เป็น localhost ของเครื่อง (เช่น 127.0.0.1) แล้วก็ทำการ ระบุ port ที่ต้องการ
เชื่อมให้ทำการ telnet ไปยัง router ตัวที่ต้องการ เช่น  telnet 127.0.0.1 2000

ซึ่งตรงนี้ปรกติแล้ว router แต่ละตัวที่สร้างอยู่ในโปรแกรม gns3 นั้น ตอนถูกสร้าง ก็จะมีการตั้งค่า port เอาไว้
ให้ด้วยซึ่งค่า port เหล่าๆนี้ หากเราไม่ต้องการจะใช้ค่า default ที่ระบบตั้งมา เราก็สามารถตั้งเองได้ โดยไปคลิก
ที่ตัวอุปกรณ์ แล้วจากนั้น ก็ทำการกดเม้าส์ขวา แล้วเลือกเมนู change console port จากนั้นก็ตั้งค่าลงไป

ปรกติแล้วค่า default ของ console port นั้น จะเริ่มต้นที่ 2000 แล้วจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอุปกรณ์ที่เราสร้าง
เราสามารถทดสอบการทำงานดูได้ ด้วยการ telnet ไปยัง local ip แล้วตามด้วยหมายเลข port ที่เราตั้งให้ router

ในการติดต่อไปยัง router ด้วยการใช้เมนู console หรือ การ telnet แล้วตามด้วยชื่อของอุปกรณ์นั้น ปรกติแล้ว
เราสามารถใช้งานได้เลย เพราะเป็นการทำงานพื้นฐานที่มีมากับ gns3 เรียบร้อยแล้ว และการกระทำทั้งสองอย่างนี้
จะเป็นการติดต่อไปยังส่วนของ line console ของ router (ลองทดสอบได้ด้วยการลองตั้ง pass ขวางเอาไว้ก็ได้)

ส่วนการทำการ telnet จากภายนอกเข้าไปยัง ip ที่เราตั้งให้กับตัว router ตรงๆนั้น จริงๆเราก็สามารถทำได้เช่นกัน
แต่เนื่องจากมีขั้นตอนและกระบวนการที่ยุ่งยากเล็กน้อย ก็เลยขอเอาไว้คุยกันในวันหลัง เพราะว่า มีเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อกันอีก
พอสมควรเลย  การติดตั้ง ms loopback adapte ฯลฯ แต่ยังไงก็เป็นส่วนที่ก็ต้องมีการอธิบายกันอีกในบทความต่อๆไป
แน่นอนครับ เพราะว่าขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้นั้น ยังเอาไปใช้ได้อีกหลายเรื่องครับ

*** การ telnet ไปยัง ip ของ router โดยตรงนั้น จะเป็นการติดต่อเข้าไปยัง line vty ของ router  ซึ่งถือว่า
เป็นคนละแบบกันกับการ telnet แล้วตามด้วยชื่ออุปกรณ์ ซึ่งจะเข้าไปยังส่วนของ line console ของ router
« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:32:28 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
การเปลี่ยนโปรแกรม telnet client ใน gns3
« Reply #8 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:56:46 am »




สำหรับใครที่ใช้งานโปรแกรม gns3 อยู่ แล้วไม่ชอบโปรแกรม telnet ที่มาให้พร้อมกับโปรแกรม gns3 เพราะเหตุผลในเรื่องของ
การใช้งานหรือ เพราะเหตุผล ในเรื่องของความปลอดภัย หรือ อาจะมีปัญหากับการใช้งานโปรแกรม telnet ที่มีมาพร้อมกับ gns3
ถ้าหากว่าอยากจะลองเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมตัว อื่นๆ ในการ telnet เข้ามายังอุปกรณ์ใน gns3 ก็สามารถทำได้โดยไปตั้งค่าที่อยู่
ในหัวข้อ terminal command ของโปรแกรม gns3 เราก็สามารถที่จะสั่งให้ gns3 ใช้งานโปรแกรม telnet ที่เราต้องการได้

สำหรับ ค่าที่เราใส่ใน terminal command นั้น จริงๆแล้วมันก็คือคำสั่งที่เราเอาไว้เรียกใช้งานพวกโปรแกรม telnet ต่างๆขึ้นมา
โปรแกรม telnet แต่ละตัวนั้น ก็จะมีรูปแบบการใช้งาน และข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป เราก็เลยอาจจะชอบใช้งานโปรแกรมบางตัว
เป็น พิเศษกว่าตัวที่ gns3 จัดเอาไว้ให้ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นตัว telnet ของ os ที่เราใช้งาน แต่ในตอนหลังมานี้ gns3 จะมีการใช้
โปรแกรม telnet ที่มากับชุดของโปรแกรม gns3 เช่น putty มาเป็นโปรแกรม default ในการใช้ telnet ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ

(เนื่อง จากว่าโปรแกรม gns3 นั้นสามารถใช้งานได้ทั้งกับ windows , linux และ mac os ก็เลยทำให้เรามีโปรแกรม telnet client
ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย ดังนั้นก็เลยทำให้ค่าของ terminal command ที่เราจะเอามาใช้งานได้นั้นมีหลายรูปแบบ)

ดังนั้นหลายๆคนก็เลยอยากจะเปลี่ยนมัน ค่าต่างๆของ terminal command ที่มีให้เราเลือกใช้กันนี้ จะแตกต่างกันไป เนื่องมาจาก
โปรแกรม telnet client แต่ละตัว มันก็จะมีพารามิเตอร์ หรือ option ในการทำงานต่างๆที่มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่เหมือนกัน ซึ่ง
แต่ก่อนการใช้งานคำสั่งพวกนี้เป็น เรื่องยุ่งยากพอสมควรเลย  (ตอนนี้ตั้งค่า terminal command ง่ายขึ้นแล้วนะครับ)


การตั้งค่า Terminal Command ใน GNS3


การ ตั้งค่าโปรแกรม telnet client ใน gns3 นั้น จะมีัขั้นตอนแตกต่างกันไปอยู่ 2 แบบ ก็คือสำหรับผู้ที่ใช้ gns3 ในเวอร์ชั่น  0.7 ลงมา
เราก็จะแก้ไขค่า terminal command นี้ได้ โดยให้เข้าไปที่เมนู edit --> preferences แล้วดูที่หัวข้อด้านซ้ายมือ เลือกที่เป็น general
หัวข้อย่อย terminal command แล้วก็สามารถเข้าไปตั้งค่าตามที่เราต้องการได้เลย สำหรับค่าตรงนี้โดย default ของ gns3 แล้วจะมีค่า
เป็น start telnet %h %p ซึ่งเป็น การเรียกใช้งานโปรแกรม telnet ธรรมดาๆ ที่มีมาให้พร้อมกับ os ที่เราใช้งานอยู่นั่นเอง ดังนั้นถ้าหาก
เราใช้งาน gns3 บนระบบ windows ซึ่งค่า terminal command ของเราก็จะเป็นก็จะเป็น telnet ถ้าเป็น linux นั้นก็จะเป็น xterm )

สำหรับผู้ที่ใช้ gns3 ในเวอร์ชั่น 0.7 ขึ้นไป การตั้งค่านี้ซึ่งแต่เดิมจะถูกรวมเอาไว้ในในหัวข้อ general settings ก็จะถูกแยกออกมาไว้
ใน tab ย่อยๆอีกอันนึง ที่ชื่อว่า terminal settings ซึ่งเอาไว้ตั้งค่าในเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยเราสามารถตั้งค่าได้ 2 แบบ แบบแรกก็คือ
เราสามารถที่จะเลือกชื่อของโปรแกรม telnet ที่เราต้องการจะใช้งาน จากรายชื่อใน list ของหัวข้อ preconfig terminal commands
เมื่อเลือกได้แล้วก็ให้ทำการกดปุ่ม use ที่อยู่ด้านหลังของ drop down list ค่า terminal command ของโปรแกรม telnet ที่เราเลือก
ก็จะมาปรากฎอยู่ที่ text box ของหัวข้อ terminal command ที่อยู่ด้านล่างและสามารถนำมาใช้งานได้ ถ้าจะให้ชัวร์อีกนิดเราก็ควรที่จะ
ไปให้ติ๊กที่หัวข้อ  launch this command using the system default shell ก็เป็นอันใช้ได้ครับ

สำหรับผู้ที่ใช้ gns3 ในรุ่นก่อนๆ โปรแกรมนั้นบางครั้งเราจะต้องใช้มีการนำคำสั่ง start ไปไว้ข้างหน้าอยู่หน้าคำสั่งที่เอาไว้ใช้เรียก
โปรแกรม telnet เพื่อเรียกใช้งานโปรแกรม telnet เหล่านั้นขึ้นมา บางตัวถ้าไม่ใส่คำสั่ง start ก็จะไม่สามารถเรียกขึ้นมาใช้งานได้

สำหรับค่า terminal command ที่เป็น default ของโปรแกรม gns3 ในเวอร์ชั่น 0.7 (บน windows) นั้น จะไม่เหมือนกับในสมัยก่อนที่
จะเรียกใช้งานโปรแกรม telnet ที่มากับ windws เพราะว่าโปรแกรม gns3 ในเวอร์ชั่นนี้ ตอนที่เราทำการติดตั้งโปรแกรม มันก็จะทำการ
ติดตั้งโปรแกรม putty ซึ่งเป็น telnet/ssh ให้มาด้วย ดังนั้นค่า default telnet ของมัน ก็จะเป็นค่า putty.exe -telnet %h %p นะครับ

ถ้าเราต้องการจะใช้ค่า terminal command เป็นของโปรแกรมตัวอื่นๆ เราก็สามารถทำได้ แต่ว่าเราก็จะต้องทำการติดตั้งโปรแกรม telnet
ตัวที่ต้องการนั้นลงในระบบ ด้วย ไม่อย่างนั้นเราก็จะไม่สามารถใช้งานโปรแกรมนั้นได้ นอกจากนี้ หลังจากเราทำการเลือกโปรแกรมที่จะ
ใช้งานไปเรียบร้อยแล้ว บางครั้งเราก็ต้องไปทำการแก้ไขค่า terminal command ด้วย อย่างเช่น แก้ข้อมูล path ของโปรแกรม ถ้าหากว่า
ตอนที่ติดตั้งโปรแกรม telnet ที่เราจะใ้ช้งานเรามีการไปตั้งค่า folder ในการติดตั้งโปรแกรม ที่ไม่เหมือนกับค่า default ของมันนะครับ


ค่า Terminal Command ของโปรแกรมต่างๆ (สำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรม gns3 เวอร์ชั่น 0.7RC1 ลงไป)

      Windows

    * ถ้าต้องการใช้งาน Secure CRT ให้ตั้งค่าดังนี้
      start c:\progra~1\SecureCRT\SecureCRT.EXE /telnet %h %p /T

    * ถ้าต้องการใช้งาน Tera Term Pro 2.3  ให้ตั้งค่าดังนี้
      start c:\progra~1\TTERMPRO\ttssh.exe %h %p /W=%d /T=1
 
   * ถ้าต้องการใช้งาน Tera Term Pro Web 3.13 ให้ตั้งค่าดังนี้
      start c:\progra~1\TTPRO313\ttermpro.exe %h %p /W=%d /T=1

    * ถ้าต้องการใช้งาน PuTTY เป็น ให้ตั้งค่าดังนี้
      start c:\progra~1\PuTTY\putty.exe -telnet %h %p

    * ถ้าต้องการใช้ SecureCRT 6  ให้ตั้งค่าดังนี้ (ต้องนำไฟล์ securecrt.vbs ไปไว้ที่ c:\program files\gns3 ด้วย)
      start C:\progra~1\vandyk~1\SecureCRT\SecureCRT.EXE /script c:\progra~1\gns3\securecrt.vbs /arg %d /T /telnet %h %p & sleep 1

       Linux

    * สำหรับผู้ที่ใช้ Xterm
      xterm -T %d -e 'telnet %h %p' >/dev/null 2>&1 &

    * สำหรับผู้ใช้งาน Gnome
      gnome-terminal -t " + name + " -e 'telnet " + host + " " + str(port) + "' > /dev/null 2>&1 &
 
    * สำหรับผู้ที่ใช้ Konsole (มี tab)
      /usr/bin/konsole --new-tab -p %d -e telnet %h %p >/dev/null 2>&1 &


การตั้งค่าตามนี้จะใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อเราทำการติดตั้งโปรแกรม telnet client ตัวนั้นๆเอาไว้แล้วด้วย การติดตั้งโปรแกรม telnet ต่างๆ
สามารถดูได้จาก ข้อมูลเกี่ยวกับ telnet client ต่างๆ ที่ผมทำไว้ หรือดูเพิ่มเติมได้จาก wikiGNS3 ของเว็บ gns3.net ครับ

สำหรับคนที่ใช้ windows vista แล้วเกิดปัญหากับการใช้โปรแกรม telnet อาจเป็นเพราะว่า vista นั้น ไม่ได้มีการติดตั้งโปรแกรมที่
ใช้งาน telnet มาให้ตั้งแต่แรก ซึ่งตรงนี้ เราก็ต้องเลือกติดตั้งเพิ่มเข้าไปครับ สำหรับการติดตั้ง telnet client บน windows vista นั้น
สามารถทำได้โดย ไปที่  Control Panel > Programs > Programs and Features > Turn Windows features on or off
แล้วจากนั้น ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ Telnet Client ก็จะสามารถใช้งาน telnet ได้แล้วครับ


การแก้ไขค่าจากไฟล์ระบบของ gns3

การตั้งค่า terminal program นี้ นอกจากจะทำในโปรแกรม gns3 แล้ว ก็สามารถเข้าไปแก้ที่ตัวคอนฟิกไฟล์ ของ gns3 ที่ชื่อว่า
gns3.ini อีกจุดนึง ซึ่งที่อยู่ของไฟล์นี้ เราจะดูได้จากการดูที่หัวข้อ configuration file ซึ่งอยูในหน้าเดียวกันกับการตั้งค่า telnet

      edit --> preferences –>general–>configuration file

สำหรับคนที่ใช้ gns3 บน linux  (เช่น ubuntu) ที่อยู่ของไฟล์นี้จะอยู่ที่ /home/.gns3/gns3.ini ส่วนคนที่ใช้ gns3 บน windows นั้น
มันก็จะอยู่ที่ /application data ของ user ที่เราใช้ เช่น c:\documents and settings\<user profile>\application data\gns3.ini

การแก้ไขข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ text editor ธรรมดา เปิดเข้าไปที่ไฟล์ gns3.ini แล้วเข้าไปตั้งค่าอย่างที่ เราต้องการได้เลยโดยเข้าไป
ตั้งค่าที่หัวข้อหลักที่เขียนว่า [GNS] แล้วดูหัวข้อย่อยที่เขียนว่า console สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ GNS3 แต่ยังใช้ Dynamips/Dynagen
การตั้งค่าแบบนี้ สามารถทำได้โดย เข้าไปแก้ไขที่ไฟล์ C:\Program Files\Dynamips\dynagen.ini ได้เหมือนกันครับ . . . ^_^


memo (http://archive.katiproject.info/gns3/gns3-telnet-client-config)

ในกรณีที่เราใช้งาน windows 7 แบบที่เป็น 64 bit เราจะมี folder ของ program files ขึ้นมาในระบบ 2 อัน ก็คือ program files และ
program files (x86) สำหรับ folder ที่เ็ป็น program files นั้น เราเอาไว้เก็บ application ต่างๆที่เราติดตั้งใน windows 7 ที่เป็น 64 bit
ส่วน application ที่เป็น 32 bit ทั่วไป จะถูกเก็บอยูที่ folder ชื่อว่า program files (x86)

ดังนั้น เวลาเราทำการย่อชื่อ folder ก็จะทำให้เกิด folder ชื่อ progra~1 และ  progra~2 ดังนั้น ถ้าเราติดตั้งโปรแกรม telnet แบบ 32 bit
ลงไปในระบบ เราจะต้องเปลี่ยน terminal command ที่บอกเอาไว้ในนี้บางส่วน โดยแก้จาก progra~1 ให้เป็น progra~2 ด้วยนะครับ
แต่ถ้าเราใช้ telnet ที่เป็น 64 bit หรือ เราทำการติดตั้งโปรแกรมไ้ว้ที่อื่น ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนค่าอะไรมันครับ

ข้อมูลในไฟล์ securecrt.vbs
------------------------------------------------

#$Language="VBScript"
#$Interface="1.0"

Sub main

crt.window.caption = crt.arguments(0)

End Sub

------------------------------------------------------

ข้อมูลของ telnet client ได้มาจาก Dynamips / Dynagen Tutorial  และจากไฟล์ dynagen.ini ของ dynagen
« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:32:44 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
[ รอการตรวจสอบ / แก้ไข ]

« Last Edit: 12 มกราคม , 2010, 05:20:56 pm by =Aegis= »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
ตัวอย่างการเชื่อมต่อ gns3 กับ loopback adapter
« Reply #10 on: 07 พฤษภาคม , 2009, 05:11:01 am »
[ รอการตรวจสอบ / แก้ไข ]


   

การเชื่อมต่อระหว่าง gns3 กับอุปกรณ์ต่างๆนั้น ตัวอย่างแบบง่ายๆ ที่เราสามารถเอามาลองได้เองอย่างนึง ก็คือการทดลอง
เชื่อมต่อระหว่าง gns3 กับ loopback adapter ของเครื่องที่เราใช้งาน เพื่อใช้ในการทดสอบการ telnet ไปยังอุปกรณ์่ใน lab

เรื่องของการทำให้อุปกรณ์ใน gns3 สามารถติดต่อกับ loopback adapter ได้นั้น ก็ไม่มีอะไรมากมาย หลักการคร่าวๆ ก็คือ
เราจะต้องทำการสร้าง network cloud ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ทำการเพิ่ม nio ของ loopback adapter เข้าไปยัง nio_gen_eth
แล้วก็สั่งให้ router ทำการเชื่อมต่อ lan interface ของตัวเองเข้ากับ cloud ที่เราสร้างขึ้น ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้แล้ว

ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างแบบละเอียดๆ ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ใน gns3 เข้ากับ loopback interface ของ windows


ขั้นตอนการคอนฟิกมีดังนี้

      - ทำการติดตั้ง loopback adapter ลงไปในระบบของ windows
      - ทำการสร้าง network cloud และการ map ค่ากับ adapter ที่ต้องการ
      - ทำการสร้าง router และติดตั้ง ethernet module
      - ทำการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
      - ทำการตั้งค่า ip ให้กับ adapter และ interface ของอุปกรณ์


การติดตั้ง loopback adapter

loopback adapter  นั้น เป็น adapter ที่มีมาให้กับ windows เรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปหาจากไหนเลย
เราสามารถติดตั้ง adapter ตัวนี้ ได้เหมือนกับการติดตั้งอุปกรณ์ทั่วไปใน windows ขั้นตอนของการติดตั้งมีดังนี้

   1.ไปที่ start  -> setting  -> control panel ->add hardware จากนั้นกด next
   2.จากนั้นเลือกหัวข้อ  yes , I jave already connected tha hardware แล้วกด next
   3.เลือกหัวข้อ add new hardware device (ตัวล่างสุด) แล้วกด next
   4.เลือกหัวข้อ install the hardware that i manually select form a list แล้วกด next
   5.เลือกติดตั้ง network adapter แล้วกด next
   6.เลือกหัวข้อหลัก microsoft แล้วเลือกชนิดของ  microsoft loopback adapter แล้วกด next

จากนั้นระบบก็จะติดตั้ง microsoft loopback adapter  ถ้าทำเสร็จแล้วจะขึ้นว่า finish ก็ถือว่าติดตั้งเรียบร้อย

*** สำหรับผู้ที่เริ่มตั้งค่าเมนูแบบ category view ตอนไปที่ control panel ให้เลือกหัวข้อ Printers and
Other Hardware แล้วกดที่ see also แล้วค่อยเข้า add new hardware ( ผมใช้แบบ classic view )

ถ้าเราใช้ windows รุ่นอื่นที่ไม่ได้ xp สามารถดูวิธีการติดตั้ง loopback adapter ได้ที่บทความเรื่อง
How to install loopback adapter in vista ที่มาจากเว็บ 7200.hacki.at ครับ (ดูตรงล่างๆนะ) ^_^



การสร้าง network cloud และการ map ค่ากับ loopback adapter



เราสามารถสร้าง cloud ขึ้นมาได้ ด้วยลาก symbol ของ cloud ออกมาจาก node type ที่อยู่ทางด้านซ้ายเข้ามายัง
หน้าจอ work spaca ของเรา หลังจากนั้นคลิกคลิกที่ cloud แล้วกดเม้าส์ขวา เลือกหัวข้อ configure จากนั้นคลิกที่
ชื่อของ cloud เช่น c1 แล้วให้ดูใtab ที่ชื่อว่า NIO Ethernet แล้วดูที่หัวข้อย่อย Generic Ethernet NIO แล้วให้เลือก
ค่าที่เป็นของ ms loopnack adapter  แล้วกดปุ่ม add จากนั้น ก็ถือว่าเราทำการติดตั้งค่าในส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว



การสร้าง router และติดตั้ง ethernet module



สำหรับการสร้าง router เพื่อนำมาใช้งานนั้น ให้เราไปเลือก router รุ่นที่เราต้องการมาจาก node type มาใช้งาน แล้วให้
ดับเบิ้ลคลิกไปที่ router หรือ คลิกเม้าขวาแล้วเลือกหัวข้อ configure เพื่อทำการเข้าไปตั้งค่าเพิ่มเติมให้กับอุปกรณ์ จากนั้น
คลิกที่ชื่อ router แล้วเข้าไปที่หัวข้อ slot แล้วให้ทำการ ติดตั้ง module ที่เป็น fast ethernet แบบที่สามารถตั้ง ip ได้

เช่น ถ้าใช้งาน 3640 ก็สามารถ ติดตั้ง NM-4E  และ NM-1FE-TX  เพื่อใช้ในงานนี้ได้ สำหรับรุ่นอื่นนั้น ขอให้เลือกใช้
พวก module ที่มี lan interface ที่สามารถตั้ง ip ได้ก็พอ (ถ้ามีการใช้งาน 802.1q  trunk ก็ควรเลือก NM-1FE-TX  )



การสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์

การสร้างการเชื่อมต่อนั้น ทำได้โดยกดที่ toolbar ชื่อ add link (รูปหัวของสายแลน) เลือกการเชื่อมต่อเป็นแบบ manual
จากนั้นให้ไปคลิกที่ router แล้วเลือก interface ที่ต้องการ จากนั้น ก็ลากเส้นการเชื่อมต่อเข้าไปที่ cloud แล้วคลิกที่ nio
ที่เราต้องการ เราก็จะได้เส้นการเชื่อมต่อระหว่าง router และ cloud ขึ้นมาแล้วจากนั้น ถ้าเราไม่ต้องการจะเชื่อมต่ออะไรอีก
ก็ให้กลับไปคลิกที่ปุ่ม add link อีกครั้ง เพื่อยุติสร้างการเชื่อมต่อ



ถ้าหากว่าเราติดตั้งทั้งหมดไม่มีอะไรผิดพลาด หลังจากที่ทำการเราเชื่อมต่อ router กับ network cloud แล้ว เวลาที่เรา
เอาเม้าส์ไปจ่อที่ตัว router ก็จะขึ้นข้อความแสดงสถานะขึ้นมาให้เราดู ซึ่งในนั้น จะบอกว่า เราได้ทำการเชื่อมต่อ interface
ของ routerเข้ากับของ loopback adapter เรียบร้อยแล้ว (จากตัวอย่างจะเห็นว่าเราเชื่อมกับ real PCAP\device\npf_ … )



การตั้งค่า ip ให้กับ loopback adapter และ interface ของอุปกรณ์

สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ หรือ ยังไม่ค่อยคุ้นกับการตั้งค่าอะไรพวกนี้ ก็สามารถดูวิธีการตั้งค่า ip ตามตัวอย่างข้างล่างนี้ได้นะครับ
การตั้งค่า ip ให้กับ loopback adapter นั้น ก็สามารถตั้งใด้เหมือนกับการตั้ง ip ทั่วๆไป โดยที่เราสามารถจะใช้ ip กลุ่มไหนก็ได้
แต่ก็ขอให้อยู่ใน network เดียวกันกับ ip ที่เราตั้งให้กับ interface ของ router ที่จะเชื่อมต่อกันก็เป็นอันใช้ได้ เช่น จากตัวอย่าง
ในรูปข้างบน ผมก็อาจจะ ip ตั้งให้ lan interface ของ router เป็น 10.0.0.1 แล้วก็ตั้งให้ loopback adapter ให้เป็น 10.0.0.2

      1.การตั้งค่า ip address นั้น ให้กับ loopback adapter

      - คลิกที่ my network place  แล้วกดเม้าส์ปุ่มขวา แล้วเลือก property
      - ทำการเลือก connection ที่เราสร้างจาก loopback adapter  แล้วกดเม้าส์ขวาเลือก property
      - ดับเบิ้ลคลิกที่หัวข้อ internet protocol (tcp/ip) เพื่อเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่า ip address
      - ตั้งค่า ip address ให้เป็น 10.0.0.2 และ subnet mask เป็น 255.255.255.0 เมื่อตั้งเสร็จให้กด ok
     -  ตั้งค่า default gateway ของ loopback ให้เป็น ip ของ lan interface ของ router ที่เราเชื่อมต่ออยู่

     2.การตั้งค่าให้กับ lan interface

   จากตัวอย่าง ถ้าเราใช้งาน router รุ่น 3640 แล้วเลือติดตั้ง module  เป็น NM-1FE-TX ที่ slot 1
   แล้วเชื่อมต่อกับ cloud ทาง interface f1/0 เราก็จะต้องตั้งค่าให้กับ interface f1/0 ดังนี้

      Router>en
      Router#conf t
      Router(config)#int f1/0
      Router(config-if)#ip address 10.0.0.1 255.255.255.0
      Router(config-if)#no shut
      Router(config-if)#exit
      Router(config)#^Z


ข้อควรระวังถ้าเรามีการใช้งาน lan card ที่มีการตั้ง ip อยู่แล้ว ก็อย่าไปตั้งซ้ำกับกลุ่มนั้น เช่น ถ้าเราเล่นเน็ตโดยมีการเชื่อมต่อ
อยู่กับ lan card หรือ wireless adapter เราก็อย่าไปตั้ง ip ของ loopback adapter ให้อยู่ใน network เดียวกัน กับ lan card
ที่ใช้งานไม่เช่นนั้น การติดต่อระหว่าง loopback กับ อุปกรณ์ต่างใน lab ของเรา อาจจะเกิดปัญหาได้

นอกจากนี้ ปัญหาอีกอย่างที่จะเกิดขึ้นก็คือเรื่องของ lan card  หรือ wireless adapter ที่เราใช้ต่อเน็ตกับ loopback adapter
แย่งกันตั้ง default gateway เพื่อให้ระบบไปใช้ค่าที่เป็นของมัน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ loopback ไม่สามารถ ping ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ
ที่อยู่คนละ network ได้ ถ้าหากว่าใครมีปัญหาแบบนี้ ก็ให้ disable ตัว lan cad หรือ wireless ที่ใช้งานอยู่ไปเลย

การทดสอบและใช้งานจริง

หลังจากที่เราทำขั้นตอนต่างๆตามที่บอกไว้ข้างบน เสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ก็ให้ลองทำการตรวจสอบค่า ip address ของอุปกรณ์
ทั้ง สองฝั่งว่ามีการตั้งค่าเอาไว้เรียบร้อยแล้วรึยัง จากนั้นก็ให้เช็ค ip ของ router และ loopback adapter ว่าอยู่กลุ่มเดียวกันหรือไม่
หลังจากนั้นก็ให้ไปทดสอบว่า router  ได้มีเส้นทาง routing ของ ip ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้วหรือยัง

การจรวจสอบค่า ip ของ loopback ให้ไปที่ cmd ของ windows แล้วใช้คำสั่ง ipconfig  /all แล้วดูที่ loopback adapter ..

        Ethernet adapter loopback adapter:

             Connection-specific DNS Suffix  . :
             Description . . . . . . . . . . . : Microsoft Loopback Adapter
             Physical Address. . . . . . . . . : 02-00-4C-4F-4F-50
             Dhcp Enabled. . . . . . . . . . . : No
             IP Address. . . . . . . . . . . . : 10.0.0.2
             Subnet Mask . . . . . . . . . . . : 255.255.255.0
             Default Gateway . . . . . . . . . :


การตรวจสอบค่า ip และ ดูสถานะ ของ lan interface ของ router ให้ใช้คำสั่ง show interface เพื่อดูผล

     Router#show int f1/0

     FastEthernet1/0 is up, line protocol is up
     Hardware is AmdFE, address is cc05.0b68.0000 (bia cc05.0b68.0000)
     Internet address is 10.0.0.1/24
     MTU 1500 bytes, BW 100000 Kbit, DLY 100 usec,
     . . . .

การตรวจสอบ routing table ของ router ทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง show ip route

      Router#sh ip route

      Codes: C - connected, S - static, R - RIP, M - mobile, B - BGP
       D - EIGRP, EX - EIGRP external, O - OSPF, IA - OSPF inter area
       N1 - OSPF NSSA external type 1, N2 - OSPF NSSA external type 2
       E1 - OSPF external type 1, E2 - OSPF external type 2
       i - IS-IS, su - IS-IS summary, L1 - IS-IS level-1, L2 - IS-IS level-2
       ia - IS-IS inter area, * - candidate default, U - per-user static route
       o - ODR, P - periodic downloaded static route

      Gateway of last resort is not set

              10.0.0.0/24 is subnetted, 1 subnets
      C       10.0.0.0 is directly connected, FastEthernet1/0



ถ้าหากตรวจสอบค่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ ping จาก command prompt ของ windows ไปยัง lan interface
ของ router และ ทำการ ping จาก router มายัง ip ของ loopback  adapter ถ้าสามารถ ping ไปและกลับได้จากทั้ง2ฝั่ง
ก็แปลว่าทำการติดต่อติดต่อระหว่างเครื่องของเรา กับ อุปกรณ์ที่อยู่ใน gns3 สามารถได้แล้วครับ

แต่ถ้าหากว่าทำแล้ว เรา ping กันไม่ได้ ให้ลองทำการตรวจสอบ routing ด้วยคำสั่ง show ip route เพื่อดูว่า router ได้มีการ
สร้าง เส้นทาง routing สำหรับกลุ่ม ip ของ loopback adapter และ interface ของ router แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มี routing
ให้ตรวจสอบการตั้ง ip ของ interface และ สถานะของ interface ด้วยว่ามันเป็นอย่างไร (ใช้คำสั่ง show int)

ปรกติ interface ที่เราสร้างขึ้นมาใน router นั้น จะถือว่าสามารถใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อมีการกำหนด ip ให้กับ interface อันนั้น
และ interface นั้น จะต้องมีสถานะของ interface / line protocol เป็น up ทํ้งคู่ แล้วถึงจะมี routing ของ ip กลุ่มนั้นขึ้นมา

ถ้าการ ping สำเร็จไปได้ด้วยดีแล้ว ขั้นตอนต่อไป ให้ลองทำการ telnet จาก windows เข้าไปยัง ip ของ interface ที่เชื่อมต่อ
กับ loopback แล้วดูว่ามันเข้าไปได้ไหม จากนั้น ให้ลองตั้ง passward เอาไว้ที่ line vty ของ router ดู แล้วก็ลอง telnet เข้าไป
อีกรอบ ถ้า telnet แล้วติด pass แปลว่า เราสามารถติดต่อไปยัง router ได้เรียบร้อยแล้ว


memo (http://archive.katiproject.info/gns3/connect-gns3-with-loopback-adapter)


ปรกติการใช้คำสั่ง telnet ใน gns3 นั้น ไม่ใช่การติดต่อไปยัง line vty ของ router ซึ่งใช้รับ การ telnet ด้วย ip โดยตรง
แต่เป็นการติดต่อเข้าไปยัง line consloe  ของ router แทน ทำให้การทดสอบอะไรบางอย่างที่ต้องทำทาง line vty นั้น
ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการต่อระหว่าง gns3 เข้ากับ loopback adapter จะสามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้

การ telnet แล้วตามด้วยชื่อของ router แบบที่ใช้ใน gns3 นั้น จริงๆก็คือการ telnet ไปยัง local ip ของเครื่อง แล้วตามด้วย
หมายเลข port ซึ่งเป็นค่าเดียวกับ ค่า console port ของ router การ telnet  แบบนี้ เป็นการติดต่อไปยังrouter โดยผ่านทาง
line console ของ router ไม่ใช่ทาง  line vty แบบการ telnet ปรกติ

ดังนั้นในทางกลับกัน ถ้าเราทำการ telnet จาก windows โดยพิมพ์ว่า telnet 127.0.0.1 2000 มันก็จะเป็นการ ติดต่อไปยัง
console ของ router ที่มีค่า console port เป็น 2000 นั่นเอง ค่า 2000 เป็นค่าเริ่มต้นของ port ที่ใช้ใน gns3 ค่าตรงนี้จะเป็น
ค่าของ router ตัวแรกที่สร้าง ถ้าสร้างอีกตัวค่าก็จะเพิ่มให้ตัวต่อไปอีก1โดยอัตโนมัตการตั้งค่า console port นั้น

สำหรับค่าของ console port ที่เราตั้งให้กับ router นั้น ถ้าเราไม่อยากได้ค่า 2000 จริงๆแล้วเราจะตั้งให้เป็น หมายเลขอื่นๆก็ได้


 
« Last Edit: 09 ธันวาคม , 2010, 12:51:44 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
การเชื่อมต่อ gns3 กับอุปกรณจริง
« Reply #11 on: 12 พฤษภาคม , 2009, 09:11:25 pm »
[รอการตรวจสอบ/แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล]


   

หากเราต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ใน lab เข้ากับอุปกรณ์จริง อย่างเช่น switch / router หรืออุปกรณ์อื่นๆ
รายละเอียดและขั้นตอนทั่วๆไป หรือ concept ในการใช้งาน ก็คงจะคล้ายๆกับตัวอย่างที่ผมเขียนเอาไว้
ในเรื่องการเชื่อมต่อ gns3 เข้ากับ loopback adapter (อาจจะต่างกันบ้างเล็กน้อย)

หลักการคร่าวๆของเรื่องนี้ ที่ว่าเหมือนกันก็คือให้เรา สร้าง cloud ขึ้นมาใช้งานก่อน ส่วนเรื่องของ nio ที่ใช้นั้น
เราก็จะใช้การเพิ่มข้อมูล NIO_gen_eth ของ network adapter หรือ wireless adapter ของเครื่องที่เราใช้
รัน gns3 เข้าไปใน cloud ที่เราสร้างขึ้นมา แล้วจากนั้น จึงเชื่อมต่อ cloud เข้ากับ interface ของตัว router
เพื่อใช้ physical adapter ของเครื่องตัวนั้น เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จริงนั่นเอง

สำหรับการเชื่อมต่อ ก็ให้นำอุปกรณ์จริงที่ต้องการมาเชื่อมต่อกับ network adapter ที่เราได้ add ค่าเอาไว้
หลังจากนั้นก็ให้ทำการตั้งค่า ip address ของ router , network adapter และอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ
ให้อยู่ใน network เดียวกัน ก็จะสามารถทำให้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านั่นเชื่อมต่อได้แล้วครับ

ส่วนเรื่องของการเลือกใช้ NIO สำหรับการติดต่อนั้น ถ้าหากเราใช้งาน gns3 บน windows เราก็จะใช้ NIO
ที่เป็นแบบ NIO_gen_eth เพื่อเชื่อมต่อกับ network adapter หรือ wireless adapter ของเครื่อง แต่ถ้า
เราใช้งาน gns3 บนระบบ linux แล้วต้องการติดต่อกับอุปกรณ์จริง ก็จะใช้ NIO_linux_eth:


   ขั้นตอนในการคอนฟิกมีดังนี้

      – ทำการสร้าง network cloud ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง gns3 กับ อุปกรณ์จริง
      – ทำการเลือกค่า nio ของ network adapter หรือ lan card ที่เราต้องการจะเชื่อมต่อลงไป
      – ทำการสร้าง router และติดตั้ง ethernet module ลงไปใน router เพื่อใช้เชื่อมต่อกับ cloud
      – ทำการสร้างการเชื่อมต่อระหว่าง ethernet interface ของ router กับ cloud
      – ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการเข้ากับ network adapter หรือ lan card ของเครื่อง
      – ทำการตั้งค่า ip ให้กับอุปกรณ์จริง , network adapter และ interface ของ router


การสร้าง network cloud และ การตั้งค่า nio_gen_eth

เราสามารถสร้าง cloud ขึ้นมาได้ ด้วยลาก symbol ของ cloud ออกมาจาก node type ที่อยู่ทางด้านซ้าย
จากนั้นคลิกคลิกที่ cloud แล้วกดเม้าส์ขวา เลือกหัวข้อ configure จากนั้นคลิกที่ชื่อของ cloud เช่น c0
แล้วให้ดูใtab ที่ชื่อว่า NIO Ethernet แล้วดูที่หัวข้อย่อย Generic Ethernet NIO แล้วให้เลือก add
ค่าที่เป็นของ network  adapter  แล้วกดปุ่ม ok ก็ถือว่าเราทำการติดตั้งค่าในส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว


การสร้าง router และติดตั้ง ethernet module

เราสามารถสร้าง router ได้ โดยไปเลือก router ที่เราต้องการจาก node type มาใช้งาน จากนั้นคลิกเม้าขวา
แล้วเลือกหัวข้อ configure เพื่อทำการเข้าไปตั้งค่าเพิ่มเติมให้กับอุปกรณ์ จากนั้นคลิกที่ชื่อ router แล้วเข้าไปที่
หัวข้อ slot แล้วให้ทำการ ติดตั้ง module ที่เป็น ethernet หรือ fast ethernet แบบที่สามารถตั้ง ip ได้

เช่น ถ้าใช้งาน 3640 ก็สามารถ ติดตั้ง NM-4E  และ NM-1FE-TX  เพื่อใช้ในงานนี้ได้ สำหรับรุ่นอื่นนั้น ขอให้เลือกใช้
พวก module ที่มี lan interface ที่สามารถตั้ง ip ได้ก็พอ (ถ้ามีการใช้งาน 802.1q  trunk ก็ควรเลือก NM-1FE-TX  )



การสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์

การสร้างการเชื่อมต่อนั้น ทำได้โดยกดที่ toolbar ชื่อ add link (รูปหัวของสายแลน) เลือกประเภทการเชื่อมต่อ
เป็น manual จากนั้นให้ไปคลิกที่ router แล้วเลือก interface ที่ต้องการ จากนั้น ก็ลากเส้นการเชื่อมต่อเข้าไปที่
cloud แล้วคลิกที่ NIO-ethernet ที่เราต้องการ เราก็จะได้เส้นการเชื่อมต่อระหว่าง router และ cloud ขึ้นมา
แล้วจากนั้น ถ้าเราไม่ต้องการจะเชื่อมต่ออะไรอีก ก็ให้กลับไปคลิกที่ปุ่ม add link อีกครั้ง เพื่อยุติสร้างการเชื่อมต่อ

การที่ต้องใช้แบบ manual เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า เราทำการเชื่อมต่อกับ cloud ทาง interface ไหน จะได้ไป
ทำการคอนฟิกค่า ip address ที่ interface ถูกอัน …


ตัวอย่างการใช้งานจริง

ถ้าผมสร้าง router ขึ้นมาใน gns3  แล้วต้องการจะเชื่อมต่อกับ linksys wrt54gl ซึ่งผมใช้ในการต่อเน็ตอยู่
เพื่อทำการ ping จาก router ใน gns3 ออกไปยังเว็บไซท์ต่างๆ อย่างเช่น yahoo.com ผมจะต้องทำดังนี้ ….

      - นำ linksys wrt54gl มาเชื่อมต่อสาย lan กับ lan card ของเครื่องที่รัน gns3
      - ทำการสร้าง network cloud และเพิ่มค่า nio_gen_eth ของ lan card ลงไป
      - ทำการสร้าง router ขึ้นมาใน lab และติดตั้ง ethernet module
      - สร้างการเชื่อมต่อระหว่าง router กับ nio_gen_eth ของ lan card ที่อยู่ใน cloud

      - ตั้งค่า ip ให้กับ linksys wrt54gl เป็น 192.168.1.10  (ถ้าตั้งไว้แล้วก็ข้ามไป)
      - ตั้งค่า ip ให้กับ lan card ของเครื่อง เป็น 192.168.1.20 (ไม่ต้องใส่ค่า gateway)
      - ตั้งค่า ip ให้กับ lan interface ของ router ใน lab เป็น 192.168.1.30
      - สร้าง routing ที่ router ใน lab เพื่อกำหนดให้ข้อมูลทั้งหมดวิ่งออกที่ 192.168.1.10

http://archive.katiproject.info/gns3/connect-gns3-with-real-device
   
หลังจากตั้งค่า ip ให้ทุกอย่างอยู่ใน network เดียวกัน และได้มีการสร้าง routing ตามที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว
เท่านี้ผมสามารถที่จะ ping จาก lab ออกไปยังเว็บไซท์จริงๆที่อยู่ภายนอก อย่างเช่น yahoo.com ได้แล้วครับ

ปล.ถ้าเราลอง ping ไปยังเว็บไซท์ภายนอกแล้ว แต่ ping ไม่ได้ ให้ลองปิด firewall แล้วทำการ ping อีกรอบ
« Last Edit: 09 ธันวาคม , 2010, 12:53:17 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
การเชื่อมต่อ gns3 กับ vpcs (ข้อมูลเพิ่มเติม)
« Reply #12 on: 14 มิถุนายน , 2009, 10:44:51 pm »
[รอการตรวจสอบ/แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล]

   

ถ้าพูดถึง client ที่สามารถนำมาใช้งานกับ lab ที่สร้างขึ้นด้วย gns3 ได้นั้น จริงๆแล้วก็มีให้เราเลือกหลายแบบ ทั้งการใช้ client
ที่เป็น อุปกรณ์จริง หรือ ใช้พวกที่เป็น vmware หรือ virtual pc แบบอื่นๆ รวมไปถึง vpcs ด้วย ซึ่ง client แต่ละแบบนั้น ก็จะมีข้อดี
ข้อเสียที่แตกต่างกันไป เช่น ถ้าเราใช้ client ที่เป็น vmware เราก็จะต้องเปลืองทรัพยากรของระบบในการรัน client อีกพอสมควร
ยิ่งถ้าหากว่าเอาไปใช้ในงานพื้นๆอย่างเช่น การสร้าง client เพื่อเอาไว้ใช้ในการ ping เพื่อทดสอบ topology ก็ืถือว่าไม่คุ้มกันเลย

ดังนั้นทางออกสำหรับการหา client แบบเบาๆ ใช้งานง่ายๆ มาเพื่อใช้ในการ ping เพื่อทดสอบ topology ของเรานั้น ผมคิดว่าเจ้า
โปรแกรม vpcs  น่าจะถือว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานเลียนแบบ client  เพื่อใช้งานแนวๆนี้ได้เหมาะสมที่สุด สำหรับใครที่สนใจ
อยากรู้ว่า vpcs คืออะไร และ มีการติดตั้งและใช้งานอย่างไรนั้น ก็สามารถไปข้อมูลเพิ่มได้จากทบความอีกอันที่ผมได้เขียนเอาไว้ครับ

      link :  http://katiproject.info/vpcs-virtual-pc/installation-vpcs-for-windows

ถ้าหากว่าใคร ที่พอจะทราบเรื่องของ vpcs หรือ เคยใช้งาน vpcs มาบ้างแล้ว และ อยากจะสร้าง lab ที่มีการเชื่อมต่อระหว่าง client
ที่อยู่ใน vpcs กับ router หรือ อุปกรณ์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นใน gns3 อยากจะบอกว่าหลักการก็ไม่มีอะไรยาก (คล้ายๆกับบทความก่อนๆ)
ก็คือเราจะต้องทำการรันโปรแกรม vpcs ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็สร้าง network cloud ขึ้นมาแล้วทำการเชื่อมต่อระหว่าง อุปกรณ์ใน lab
ผ่านทาง network cloud  ไปเชื่อมต่อกับ client ที่สร้างรอเอาไว้ในโปรแกรม vpcs เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
 
สำหรับผู้ที่ต้องการจะเชื่อมต่อ lab ที่สร้างขึ้นใน gns3 กับ vpcs เพื่อใช้งานเป็น client ใน lab ในส่วนของ network cloud ที่สร้างขึ้น
เพื่อใช้ในการติดต่อกับ vpcs นั้น เราจะต้องใช้การเชือมต่อผ่าน nio คนละแบบกันกับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จริง และ การเชื่อมต่อกับ
loopback adapter ซึ่งจะเป็นการใช้งาน nio_gen_eth หรือ nio_linux_eth การเชื่อมต่อกับ vpcs เราจะต้องมีการเปลี่ยนประเภท
ของ nio ที่ใช้งาน มาใช้เป็น nio_udp: เพราะว่า vpcs  เป็น virtual host ที่ติดต่อผ่านทาง udp port ครับ


   ขั้นตอนในการคอนฟิกมีดังนี้

      - ทำการตั้งแก้ไขค่าคอนฟิกของ vpcs เช่นตั้ง ip หรือ แก้ไขจำนวน client (ทำก่อนที่จัรัน vpcs)
      - ทำการเรียกใช้งานโปรแกรม vpcs ขึ้นมา (ต้องเรียก vpcs ก่อนที่จะเรียกใช้งาน lab ของ gns3)
      - ทำการสร้าง network cloud และเพิ่มค่า nio ของ network adapter ที่ต้องการลงไป
      - ทำการสร้าง router และติดตั้ง ethernet module ลงไปเพื่อใช้เชื่อมต่อกับ cloud
      - ทำการสร้างการเชื่อมต่อระหว่าง router router หรือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้น กับ cloud
      - ทำการตั้งค่า ip ให้กับ interface ของ router หรือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้น


หลักในการเชื่อมต่อระหว่าง gns3 กับ vpcs



สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง vpcs กับอุปกรณ์ใน gns3 นั้น โดยพื้นฐาน เราจะต้องมีการสร้างของขึ้นมา 2 อย่างด้วยกัน
ก็คือทำการสร้าง network cloud ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นทางผ่านในการเชื่อมต่อ gns3 เข้ากับ vpcs และ อีกส่วนนึง ก็คือ
จะต้องทำการสร้างอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อกับ network cloud ตัวอย่างเช่น router นึ่นเอง สำหรับ การตั้งค่าหลักๆในเรื่องนี้
จึงมีอยู่ แค่ 2จุดด้วยกัน ก็คือการสร้างและตั้งค่าของ cloud แล้วก็จะต้องไปทำการเพิ่ม module ที่เป็น ethernet หรือ
พวก fast ethernet เข้าไปในอุปกรณ์ ที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้อุปกรณ์ตัวนั้นสามารถติดต่อกับ network cloud ได้้

การสร้าง network cloud ขึ้นมาใช้งานนั้น เราสามารถสร้าง network cloud ขึ้นมาได้ ด้วยลาก symbol ของ cloud
ออกมาจาก node type ที่อยู่ทางด้านซ้ายจากนั้นคลิกคลิกที่ cloud แล้วกดเม้าส์ขวา เลือกหัวข้อ configure จากนั้น
คลิกที่ชื่อของ cloud เช่น c0 แล้วให้ดู tab ที่ชื่อว่า nio udp แล้วดูที่หัวข้อย่อย setting แล้วให้เลือก add ค่าต่างๆลงไป
ก็ถือว่าเสร็จเรียบร้อย สำหรับเรื่องของการตั้งค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ผมจะได้เขียนไว้ด้านล่างๆนะครับ)



สำหรับเรื่องการสร้างตัวอุปกรณ์ขึ้นมาเพื่อใช่เชื่อมต่อนั้น ก็ไม่มีอะไรยากเช่นกัน เราก็แค่เลือก router หรือ อุปกรณ์อื่นๆ
ที่เราต้องการจาก node type มาใช้งาน แล้วลากเข้ามาใน work space ได้เลย แต่ถ้าจะลาก route ก็ต้องเป็น router ที่
ได้มีการเพิ่ม ios image เอาไว้แล้วด้วยจึงจะสามารถลากเข้ามาใช้งานได้

ส่วนเรื่องของการเพิ่ม module เพื่อจะใช้สร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ของเรากับ network cloud นั้น ก็ให้เราไปคลิกที่
router ที่เราสร้างขึ้นมา จากนั้น จากนั้นคลิกเม้าขวา แล้วไปเลือกหัวข้อ configure เพื่อทำการตั้งค่า module ให้กับอุปกรณ์
การเพิ่มค่า module ให้กับอุปกรณ์นั้น ให้เราไปคลิกที่ router แล้วเข้าไปที่หัวข้อ slot แล้วให้ทำการ ติดตั้ง module ที่เป็น
ethernet หรือ fast ethernet แบบที่สามารถตั้ง ip ได้ลงไป เช่น nm-1fe-tx หรือ nm-4e ก็ได้ เพื่อที่จะได้ใช้ในการเชื่อมต่อ
ระหว่าง router กับ nio_udp ของ network cloud ที่เราได้สร้างขึ้นมา (ถ้ามีการใช้งาน 802.1q ก็ให้เลือก  nm-1fe-tx มาใช้)

หลังจากที่เราได้ทำการเพิ่มเติมค่า nio_udp และ เพิ่ม module ลงไปในอุปกรณ์ที่จะใช้งานแล้ว ก็ให้เราไปคลิกที่เมนู add link
แล้วลากเส้นเชื่อมมาจากอุปกรณ์ที่เราต้องการ แล้วมาคลิกที่ network cloud จากนั้น ก็ให้เลือกค่า nio ตัวที่ต้องการจะเชื่อมต่อ
แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ (ถ้าจะให้ดี เลือกการเชื่อมต่อเป็นแบบ manual ก็ได้ครับ) … ^_^

(ปรกติแล้ว ถ้าหากเราต้องการจะใช้งาน lab ที่มีการเชื่อมต่อกับ vpcs ให้เราทำการเรียกใช้ vpcs ขึ้นมาก่อนจะรัน gns3 นะครับ)


ค่าพารามิเตอร์ต่างๆของ Nio_udp



อย่างที่บอกไว้ข้างบนว่า ถ้าหากเราต้องการจะเชื่อมต่อ gns3 กับ vpcs นั้นเราจะต้องมีการใช้งาน cloud และเมื่อเราสร้าง cloud
ขึ้นมาแล้ว เราก็จะต้องทำการสร้าง nio udp ขึ้นมาเพื่อใช้เชื่อมต่อ การที่จะคอนฟิกค่า nio udp นั้น เราต้องสร้าง cloud ขึ้นมาก่อน
แ้ล้วดับเบิ้ลคลิกเข้าไปในนั้น และไปที่ tab ชื่อ nio udp จากนั้นให้เราทำการใส่ค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ setting ลงไปแล้วกด
ที่ปุ่ม add เมื่อทำเสร็จหมด ให้กดที่ปุ่ม apply ถ้าหากเราทำการ add ข้อมูลของ nio udp ลงไป แล้วกด enter เฉยๆ มันก็อาจจะ
ไม่บันทึกค่าที่เราตั้งเอาไว้ให้ ดังนั้นเมื่อใส่ค่าเสร็จต้องกด add และ เมื่อเสร็จแล้วต้องกด apply ด้วยไม่งั้นมันจะไม่บันทึกค่าให้)

สำหรับเรื่องของค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เราจะต้องใส่ลงไปเวลา ในเวลาที่ที่ทำการสร้าง nio_udp นั้น ค่าต่างๆที่ต้องใส่ลงไปก็ได้แก่
ก็คือค่า local port , remote port แล้วสุดท้ายก็คือ remote host ซึ่งค่าเหล่านี้สามารถตรวจสอบดูได้จาก vpcs โดยใช้คำสั่ง show
แล้วดูที่ค่าของ pc ที่ต้องการ ซึ่งค่าที่แสดงขึ้นมาก็จะมีค่า  name , ip , gateway , mac , lport , rport

  -  lport หมายถึง port ที่ vpcs เปิดขึ้นมาเพื่อใช้รอรับการติดต่อจาก gns3 เวลาที่จะสร้าง nio udp
     เีราก็จะต้องนำค่านี้ไปใส่ไว้ในช่อง remort port ของ nio udp ที่จะสร้างขึ้น (ค่านี้เริ่มต้นที่ 2000)

  -  rport หมายถึง port ที่จะให้ dynamips เปิดรอเอาไว้รับการติดต่อจาก vpcs เวลาที่จะสร้าง nio udp
     ให้นำค่านี้ไปใส่ในช่อง remort port ของ nio udp ที่จะสร้างขึ้น (ค่านี้เริ่มต้นที่ 3000)

  -  ip อยู่ตรงกลาง จะเป็นค่าของ remote host (pc ) ที่ต้องการจะใช้งาน ถ้าใช้งาน vpcs ในเครื่องเดียวกัน
     กับ gns3 เวลาเราจะสร้าง nio udp ขึ้นมาใช้งาน ก็ให้ตั้งค่าในส่วน remort host.ให้เป็น 127.0.0.1 ครับ

ค่า LPORT , RPORT ของ client (pc) ที่สร้างขึ้นใน vpcs นั้น ค่าของ client แต่ละตัวจะเป็นของใครของมัน การตั้งค่า local port ,
remote port นั้น ก็ให้ตั้งสลับกันกับ LPORT และ RPORT ของ pc ใน vpcs ตัวที่เราต้องการ ส่วนตรง remote host ก็ใส่ ip ของ
เครื่องที่ใช้รันโปรแกรม vpcs หรือ เราจะใส่ค่าของ local ip ที่เป็น 127.0.0.1 หรือ local host ก็ได้ ถ้าเรารัน vpcs ที่เครื่องเราเอง



เนื่องจากค่าของ LPORT และ RPORT ของ vpcs นั้น โดย default แล้วจะเป็นค่าที่ถูกตั้งเอาไว้คงที่ทุกครั้งโดยที่ค่า LPORT นั้น
จะเริ่มจาก 20000 และ RPORT เริ่มจาก 30000 และค่าจะเพิ่มทีละ 1 ตามจำนวน pc ที่มี และจากข้อมูลตรงนี้เราก็สามารถสรุปเป็น
ตารางเพื่อให้เกิดความสะดวกเวลาจะสร้าง nio_udp ขึ้นมาใช้งานได้ดังนี้ครับ

   PC         Local Port     Remote Host   Remote Port 
-------------------------------------------------------------------------
   pc1        30000            127.0.0.1          20000   
   pc2        30001            127.0.0.1          20001   
   pc3        30002            127.0.0.1          20002   
   pc4        30003            127.0.0.1          20003   
   pc5        30004            127.0.0.1          20004   
   pc6        30005            127.0.0.1          20005   
   pc7        30006            127.0.0.1          20006   
   pc8        30007            127.0.0.1          20007   
   pc9        30008            127.0.0.1          20008   


  *** Local Port = RPORT (ของ VPCS)   /  Remote Port = LPORT (ของ VPCS)


การตั้งค่า ip address ให้กับ client

การตั้ง ip ให้กับ client ในการติดต่อนั้น ทำได้โดยเข้าไปแก้ไขที่ไฟล์คอนฟิกของ vpcs ที่ชื่อว่า startup.vpc ซึ่งปรกติแล้วไฟล์นี้
จะเป็น text file  การจะตั้ง ip,subnet mask, gateway ให้กับ pc ที่ต้องการนั้น ให้เราดูในหัวข้อที่มีการ remark เอาไว้ เช่น #pc1
แล้วดูลงมาอีกบรรทัดจะเห็นตัวเลข 1 ซึ่งจะหมายถึง pc1 นั้นเอง

สำหรับข้อมูล ip ของ pc1 นั้น ก็จะอยู่ในบรรทัดต่อๆไป โดยจะเขียนเอาไว้ว่า ip แล้วตามด้วยตัวเลขต่างๆอีก 3 ชุด ซึ่งก็จะมีค่าของ
ip address , gateway และ subnet mask  ซึ่งเราสามารถแก้ไขค่าเหล่านี้ได้ตามต้องการ

     ip <ip address> <gateway> </netmask>

ถ้าหากเราต้องการตั้ง ip address ให้กับ client ใน vpcs โดยการ ใช้คำสั่ง เราก็สามารถทำได้โดย เปิด vpcs ขึ้นมาจากนั้นให้เราพิมพ์
หมายเลขของ client ที่เราต้องการจะตั้ง ip ลงไปใน prompt เพื่อให้เราไปอยู่ที่ client (pc)ตัวนั้น แล้วพิมพ์คำว่า ip ตามด้วย ip address
แล้วก็ gateway กับ mask แล้วก็กด enter ก็เป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะตั้ง ip ให้กับ pc 3 ผมก็พิมพ์ลงไปว่า 3 แล้วกด enter จากนั้น prompt ก็จะเปลี่ยนเป็น vpcs 3> ซึ่งหมายความว่า
ตอนนี้ผมมาอยู่ที่ pc3 แล้ว จากนั้นผมก็พิมพ์คำสั่ง ip พร้อมด้วย ip , gw และ mask ที่ต้องการลงไป ก็จะมีข้อความแจ้งบอกว่า ตอนนี้
เจ้า pc3 นั้นได้มี ip , subnet mask และ gateway ตามที่ผมตั้งเอาไว้แล้ว

   VPCS 1 > 3
   VPCS 3 > ip 10.0.0.2  10.0.0.1 24

   PC 3 : 10.0.0.2  255.255.255.0  gateway 10.0.0.1



ข้อมูลเพิ่มเติม

     - การ ติดตั้งและใช้งาน vpcs (เบื้องต้น)
      http://katiproject.info/vpcs-virtual-pc/installation-vpcs-for-windows

    - ตัวอย่าง config ของ vpcs แบบ ง่ายๆ
      http://katiproject.info/vpcs-virtual-pc/vpcs-basic-config

    - การ ใช้งาน vpcs กับ dynamips/gns3 (แบบสั้นสุดๆ)
      http://katiproject.info/vpcs-virtual-pc/how-to-use-vpcs-with-dynamips-gns3

    - การ ใช้งาน vpcs กับหลายๆ project (ที่ใช้ ip ต่างกัน)
      http://katiproject.info/vpcs-virtual-pc/use-vpcs-with-multi-project-different-ip


memo (http://archive.katiproject.info/gns3/connect-gns3-with-vpcs)


เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องของการเปิด port หรือ การแย่ง port กัน ระหว่างเจ้า vpcs กับ gns3 เราจึงจะต้องทำการเรียกใช้งาน
โปรแกม vpcs ก่อนที่ จะเรียกใช้งาน gns3 เสมอ ไม่งั้นจะเกิดปัญหาเรื่อง port ( gns3 กับ vpcs จะแย่งกันเปิด port ทำให้ใช้งานไม่ได้)


สำหรับผู้ที่ใช้งาน vpcs กับ gns3 แล้วเกิดปัญหา ให้ทำการ copy ไฟล์ cygwin1.dll ของ vpcs มาไว้ใน folder ของ dynamips ซึ่งอยู่ใน
C:\program files\gns3\dynamips ให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกัน จากนั้นก็ให้ทำการเรียกใช้งานโปรแกรมใหม่อีกครั้ง ปัญหาก็จะหายไป ซึ่งตรงนี่
เราอาจจะลองใช้ cygwin1.dll ตัวล่าสุดก็ได้ (เราสามารถดาวน์โหลดไฟล์นี้ได้จาก http://www.cygwin.com/ นะครับ)

----------------------------------------------------------------------------------------------

การตรวจสอบว่า vpcs และ gns3 มีการเปิดใช้งาน port ที่จะใช้ในการติดต่อกันแล้วรึยัง
ใช้คำสั่ง netstat -na เพื่อตรวจสอบ port ต่างๆที่มีการเปิดเอาไว้ (ดูเฉพาะที่เป็น udp)
 
 UDP    0.0.0.0:20000          *:*    <--- port 20000 - 20008 เป็น port ของ vpcs ทั้งหมด
 UDP    0.0.0.0:20001          *:*
 UDP    0.0.0.0:20002          *:*
 UDP    0.0.0.0:20003          *:*
 UDP    0.0.0.0:20004          *:*
 UDP    0.0.0.0:20005          *:*
 UDP    0.0.0.0:20006          *:*
 UDP    0.0.0.0:20007          *:*
 UDP    0.0.0.0:20008          *:*
 UDP    0.0.0.0:30000          *:*   <--- port 30000 เป็น port ที่ gns3 (dynamips-wxp) เปิดขึ้นมา


** ถ้ายัง ping กันไม่ได้ ให้ลองปิด firewall หรือ ลองตรวจสอบ interface ว่า ได้สั่งให้มัน no shutdown แล้วหรือยัง


  
« Last Edit: 06 ธันวาคม , 2010, 03:33:28 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
GNS3 - Graphic Network Simulator [ update ]
« Reply #13 on: 08 กันยายน , 2009, 04:32:31 am »


--- update log ---

วันนี้ผมได้ทำการ update เนื้อหาในส่วนแรกๆ ที่ยังอธิบายไม่ละเีอียด หรือ พวกที่อ่านแล้วยังงงๆ
ให้มีเนื้อหาเพิ่มขึ้นละเอียดขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น แล้วก็ยังเอา tutorial สอนการใช้งาน gns3 ที่ทำใหม่
มาใส่ไว้แทนของเดิมด้วย ส่วนเรื่องเนื้อหาเอาไว้มีถ้าเวลาจะมาอัำพเดทหรือเขียนเพิ่มให้อีกนะครับ

(พอดีว่าอัพเดทช่วงดึกๆ ถ้ามีตรงไหนผิดพลาด ขาดหาย หรือ ตกหล่นไป ก็ขออภัยเอาไว้ด้วยนะครับ)


log

xx/01/10 - ทำการแก้ไขเนื้อหาในหลายๆส่วนให้ยาวขึ้นและละเอียดขึ้นเพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย
30/06/10 - ทำการแก้ไขเนื้อหาเรื่อง telnet เพราะโปรแกรม gns3 v.07 มีการแก้ไขในส่วนนี้ใหม่
19/07/10 - ทำการแก้ไขเนื้อหาเรื่องของ vpcs ให้สมบูรณ์ขึ้น พร้อมกับเพิ่มรูปประกอบ
21/07/10 - ทำการแก้ไขเนื้อหาของ vpcs ให้สมบูรณ์ขึ้น (แก้ไข wording และ จัดย่อหน้าใหม่หมด)
09/12/10 - ทำการแก้ไขเนื้อหาเรื่อง การเชื่อมต่อระหว่าง gns3 กับ loopback adapter ทั้งหมด


« Last Edit: 09 ธันวาคม , 2010, 12:36:56 am by ..... »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @