Author Topic: [GNS3 ] แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3 [v0.7RC1]  (Read 16470 times)

0 Members และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
[GNS3 ] แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3 [v0.7RC1]
« on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:21:45 am »
GNS3 v0.7 RC1




GNS3 Workspace

สำหรับ windows ต่างๆนั้น เป็นพื้นที่ที่ใช้แสดงข้อมูลสำคัญๆต่างๆ และ เป็นพื้นที่ในการใช้งานของเราในการสร้างการเชื่อมต่อต่างๆ
เราสามารถขยายหรือย่อขนาดของพื้นได้ตามที่เราต้องการ นอกจากนี้ กรอบหน้าจอต่างๆเหล่านี้ ก็ยังสามารถลากออกมาให้เป็นอิสระ
จากกรอบของ workspace ได้ และย้ายที่ได้ตามต้องการ เราสามารถเลือกที่จะซ่อน หรือ แสดงกรอบต่างๆได้ การแสดง หรือ ซ่อน
กรอบแสดงข้อมูลต่างๆนั้น สามารถทำได้โดยไปที่เมนู  view ---> dock แล้วคลิกที่ชื่อของกรอบที่ต้องการ ..

กรอบแสดงข้อมูลต่างๆที่อยู่ใน gns3 มีอยู่ 3 ส่วน ก็คือ node type , topology summary ,console ถ้าไม่นับส่วนของพื้นที่หลักที่เป็น
workspace ซึ่งใช้ในการนำอุปกรณ์เ้ข้ามาเชื่อมต่อกัน สำหรับกรอบแสดงข้อมูลแต่ละส่วนมีหน้าที และ องค์ประกอบที่แตกต่างกันไปดังนี้

Node type

เป็นกรอบที่เอาแสดง list ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราสามารถนำเข้ามาสร้างการเชื่อมต่อใน project ของเราได้ ในการใช้งานปรกติ
จะมีการ list อุปกรณ์ที่ gns3 สามารถจำลองการทำงานได้เอาไว้ ได้แก่ router รุ่นต่างๆ  ethernet switch , pix firewall , asa
firewall,juniper router ,  atm switch , atm bridge , frame relay switch และ  network cloud

ถ้าต้องการจะเพิ่มเติม symbol ต่างๆเข้าไปใน node type สามารถทำได้โดยไปที่เมนู edit แล้วเลือกที่หัวข้อ symbol manager
จากนั้น ก็สามารถเลือกได้เลยว่า จะเพิ่ม symbol ตั้วไหนเข้าไป หรือ กำหนดค่าว่าจะให้ symbol ไหน มีคุณสมบัติอย่างไร นอกจากนี้
เราก็ยังก็ยังสามารถเพิ่มเติมรูปต่างๆเข้าไปได้อีกด้วย (การเพิ่มรูป symbol สามารถดูใน official manual ของ gns3 0.5 ได้ครับ)

(เราสามารถเพิ่ม symbol library ที่เป็นภาพต่างๆเข้าไปก่อน แล้วค่อยไปทำการกำหนดคุณสมบัติเพิ่มให้ทีหลังก็ได้)

สำหรับอุปกรณ์อย่าง router นั้น เราจะลาก symbol ของมันมาใช้งานได้ ก็ต้องเมื่อเรามีการตั้งค่า ios images ให้กับ router ในรุ่นนั้นๆ
เอาไว้แล้วเท่านั้น ถ้าไม่ได้ตั้งค่า ios images ให้กับ router รุ่นนั้น เราก็จะไม่สามารถจะนำ router รุ่นนั้นออกมาใช้งานได้

Topology Summary

เป็นกรอบที่แสดงข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆที่มีเรานำมาใช้งาน และ แสดงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์นั้นๆกับอุปกรณ์อื่นๆ ว่ามีการเชื่อมต่อ
กับอุปกรณ์อะไรบ้าง และ เชื่อมต่อกันทาง interface ไหน ปรกติ จะ list ชื่ออุปกรณ์เป็นแบบย่อๆเอาไว้ ถ้าหากอยากทราบรายละเอียด
ของการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้น ก็ไปคลิกที่ชื่ออุปกรณ์ที่มีการ list เอาไว้ แล้วจะปรากฎรายละเอียดเพิ่มเติมให้เอง

Console

เป็นส่วนที่เอาไว้สำหรับผู้ที่ต้องการใช้การพิมพ์คำสั่ง ผ่าน dynagen ซึ่งเป็น text base front-end ของ dynamips เพื่อสั่งการทำงาน
ของ dynamips ทำงานต่างๆ (dynamips เป็นตัวที่รับผิดชอบในการจำลองการทำงาน ของ router ต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ใน gns3 โดยตรง)

สำหรับ dynagen ที่อยู่ใน gns3 นั้น ถูกปรับแต่งมาให้ใช้งานได้เหมาะกับ gns3 โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงอาจจะใช้งานคำสั่งได้ไม่เต็มที่
เหมือนกับแบบในชุด ของ dynamips/dynagen ตามที่ที่เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานทั่วไป ถ้าต้องการทราบคำสั่งให้พิมพ์ ? ลงไป

Workspace

เป็นพื้นที่ว่างๆซึ่งจะอยู่ส่วนกลางของหน้าจอเป็นพื้นที่หลักในการทำงานของเรา ซึ่งเราสามารถลากเอาอุปกรณ์ต่างๆ จาก node type
มาวางเอาไว้ในพื้นที่นี้ และ จัดทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตาม topology ที่เราต้องการข้อมูลการเชื่อต่อต่างๆ ที่ทำลงไป
ในส่วนของ workspace เช่น ชื่อของอุปกรณ์ และ รูปแบบการเชื่อมต่อต่างๆที่ทำไว้ ก็จะไปปรากฎที่กรอบของ topology summary

นอกจากนี้ขนาดของพื้นที่ที่เป็น workspace นี้ ก็ยังเป็นส่วนที่ใช้ตัวกำหนดขอบเขตหน้าจอเวลาที่เราทำการ export ข้อมูล topology
ที่เราสร้างเอาไว้ ให้ออกมาเป็นภาพด้วยด้วย ( ถ้าเราเลือก option ของการ export เป็น export only what i see )..

memo

คำสั่ง export จะใช้เมื่อต้องการแปลงภาพที่อยู่ในส่วนของ workspace ออกมาเป็นไฟล์รูปภาพ เพื่อนำไปใช้งานปรกติคำสั่ง export นั้น
จะเลือก option ได้ 2 แบบ คือ จะเซฟภาพเฉพาะขอบเขตที่เป็นรูปของการเชื่อต่อ ซึ่งจะตัดพื้นที่ว่างๆ ที่ไม่ต้องการทิ้งไป กับอีกแบบคือ
จะเซฟภาพเต็มพื้นที่ของ workspace เท่าที่มีอยู่  ถ้า workspace ของเรากว้าง เราก็จะได้ภาพกว้าง ถ้าเรามี workspace เล็ก เราก็จะ
ได้ภาพเล็ก ทั้งสองแบบ จะได้ขนาดรูปต่างกัน (การถามถึงเรื่องของ option นี้จะถามหลังจากที่เราตั้งชื่อไฟล์ทีีจะ export แล้ว)

« Last Edit: 19 ธันวาคม , 2009, 02:16:25 pm by = Aegis = »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3 (2)
« Reply #1 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:23:30 am »


GNS3 Toolbar

toolbar หลักๆของ gns3 เวอร์ชั่น 0.7 นั้น มีด้วยกัน3ตัว ก็คือ general toolbar, emulate toolbar และ emulate toolbar ซึ่ง toolbar
เหล่านี้ เราสามารถจะแยกแต่ละชุดออกจากกันเป็นอิสระ หรือ นำมาจัดเรียงใหม่ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ก็ยังสามารถสั่งให้แสดง หรือ
ซ่อน toolbar แต่ละชุดได้ด้วย การนำเม้าส์ไปวางไว้แถว toolbar แล้วกดขวา แล้วคลิกที่ชือ toolbar ที่ต้องการ (เราสามารถทราบชื่อของ
icon ที่อยู่ใน toolbar ต่างๆได้ ด้วยการนำเม้าส์ไปวางไว้เหนือ icon เหล่านั้น)

General toolbar

   เป็น toolbar สำหรับการทำงานทั่วไปของ gns3 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ใช้ในการจัดการไฟล์
   ต่างๆ และ ส่วนที่สองนั้น จะใช้จัดการเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการแสดงผลของ topology ใน workspace

   

    new project  สั่งให้เปิด project ขึ้นมาให้ (จะมี option ให้เลือก 2 ข้อ)
    edit project  สั่งให้แก้ไข option ของ project ที่เราเคยเลือกเอาไว้
    open  สั่งให้เปิดไฟล์ project ที่ได้สร้างเอาไว้แล้ว
    save   สั่งให้บันทึกไฟล์ project ที่ใช้งานอยู่
    save as  สั่งให้บันทึกไฟล์ project ที่ใช้งานอยู่ เป็นชื่ออื่น
   
    clear topology  ใช้สั่งให้ลบ topology ที่เชื่อมกันอยู่ใน workspace ออกไปทั้งหมด
    show/hide interface name ใช้สั่งให้ซ่อน หรือ แสดง ชื่อ interface  ใน workspace
    show/hide host name   ใช้สั่งให้ซ่อน หรือ แสดง ชื่ออุปกรณ์ ใน workspace
    add link   ใช้ในการสร้างการ link เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์

   แต่เดิม add link นั้น แยกอยู่ต่างหากจากจากชุดของ general แต่ได้ถูกนำมารวมไว้ในเวอร์ชั่น 0.6

 
Emulate toolbar
   
   เป็น toolbar ที่ใช้สำหรับการสั่งงานโปรแกรม emulator ให้ทำงานต่างๆตามที่ได้กำหนดไว้

   

     snapshot  ใช้ในการสั่งให้บันทึกค่าที่คอนฟิกและไฟล์ต่างๆที่ใช้งานอยู่ในขณะนั้นไปเก็บไว้ใน folder snapshot 
     extract/import all start-up config  ใช้ในการสั่งให้นำเข้า หรือ ส่งออก startup-config ทั้งหมดของ router
     telnet to all ios  เป็นการสั่งให้ทำการ console ไปยัง router หรือ อุปกรณ์ทั้งหมดที่รัน ios อยู่
     start/resume all ios  ใช้ในการสั่งให้เริ่มการทำงานของ router หรือ อุปกรณ์ที่ใช้งาน ios อยู่ ทั้งหมด
     suspend all ios  ใช้ในการสั่งให้ router หรือ อุปกรณ์ที่ใช้งาน ios ทั้งหมด พักการทำงานชั่วคราว
     stop all ios  ใช้ในการสั่งให้ router หรือ อุปกรณ์ที่ใช้งาน ios ทั้งหมด หยุดการทำงาน

   
   การทำงานของ snapshot นั้น เวอร์ชั่นก่อนๆนั้นไม่มี เพิ่งมีเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่น 0.6 นี้เอง

Drawing toolbar

   เป็นเมนูที่เอาไว้สำหรับตกแต่ง workspace ให้ออกมาตามที่เราต้องการ หรือ เพื่อให้เกิดความสวยงาม
   เพราะว่า ภาพของสิ่งต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ใน workspace นั้น สามารถ export เป็นรูปเพื่อใช้งานอื่นๆได้

 

    add note  ใช้ในการเพิ่มข้อความ หรือ ตัวอักษรลงไปในพื้นที่ workspace
    insert picture   ใช้ในการนำรูปเข้ามาใน workspace
    draw a rectangle  สร้างกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมาใช้งาน (กรอบจะย่อ/ขยายได้)
    draw  an ellipse   สร้างวงกลม หรือ วงเส้นประ ขึ้นมาใช้งาน

   ในเวอร์ชั่น 0.5 นั้น  add note และ insert picture นั้น จะอยู่ในชุดของ general toolbar


memo

สำหรับสิ่งต่างๆที่สร้างขึ้นด้วย drawing toolbar นั้น เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมในเรื่องของสี ตัวอักษร
หรือ รายละเอียดอื่นๆได้อีก และ ในกรณีที่ ภาพ หรือ ตัวอักษร ที่สร้างขึ้นมานั้น มีการซ้อนทับกันอยู่ ก็
สามารถกำหนดได้ว่า จะให้ ภาพ หรือ ข้อความ อันไหนอยู่หน้าหรืออยู่หลัง  ด้วยการคลิกที่สิ่งที่เราสร้างขึ้น
แล้วกดเม้าส์ขวา เลือกหัวข้อ ที่อยู่ในเมนูย่อย

   
Lower ons step - สั่งให้ รูป หรือ ข้อความ เลื่อนลงไปหลังอันอื่นๆ 1 ขั้น
Rise one step - สั่งให้ รูป หรือ ข้อความ ย้ายขึ้นมาหน้าอันอื่นๆ 1 ขั้น
Style - กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเช่น สีพื้น สีตัวอักษร
Delete - สั่งให้ลบภาพ หรือ ข้อความที่เราเลือก

« Last Edit: 19 ธันวาคม , 2009, 02:12:12 pm by = Aegis = »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @

.....

  • Web Advisor
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 268
  • จิตพิสัย +18/-0
  • - Kati - Project -
แนะนำ interface และ toolbar ของ gns3 [3]
« Reply #2 on: 15 กุมภาพันธ์ , 2009, 05:23:51 am »


Router Menu



Configure

เป็นเมนูที่ใช้ กำหนดค่าต่างๆให้กับอุปกรณ์ เมื่อคลิกที่เมนูนี้ จะเป็นการเข้าไปที่ Node configurator ของอุปกรณ์ที่เราเลือก เพื่อ
ใช้ตรวจสอบและตั้งค่าทาง hardware ต่างๆให้กับอุปกรณ์ตัวนั้น ในกรณีของ router ก็จะมีการแสดงข้อมูลทั่วไปของ router เช่น
platform , model , ios image  และ มีส่วนของการตั้งค่าต่างๆของ router ด้วย เช่น memory and disk  , slot  , advanced

Show / Hide the host name

เป็นเมนูที่ใช้กำหนดการแสดงผลชื่อของอุปกรณ์ ว่าต้องการจะให้แสดงผล หรือ ว่าไม่แสดงผล
ปรกติแล้วชื่อของอุปกรณ์จะถูกแสดงไว้ด้านบนของอุปกรณ์ เมื่อเราสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาใช้งาน

Change the hostname

เป็นเมนูในการตั้งค่า hostname ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าหากเราไม่ต้องการ hostname ที่มีอยู่

Change console port

เมนูนี้เป็นเมนูที่ใช้ในการกำหนด port ที่จะเลือกใช้ถูกใช้เป็น console port  ของ router
เพื่อให้โปรแกรม telnet client ติดต่อมายัง router ค่านี้ router จะมีของตัวเองไม่ซ้ำกัน

ค่าเริ่มต้นของ port จะอยู่ที่ 2000 เราสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นให้ต่างจากนี้ได้ด้วย

Console

เป็นการสั่งให้ gns3 ทำการติดต่อผ่านโปรแกรมสื่อสาร เข้าไปยังอุปกรณ์ เพื่อทำการคอนฟิกค่า
ปรกติจะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อ มีการสั่ง start ตัวอุปกรณ์ หรือ router ตัวที่เราเลือกเอาไว้นั้นแล้ว
ปรกติแล้ว ระบบการ console เข้าไปคอนฟิกอุปกรณ์ของ gns3 นั้น จริงๆแล้วเป็นเพียงการสั่งให้
telnet มาที่ ip ที่เป็น local  ของเครื่อง แล้วตามด้วยค่า port ที่เรากำหนดให้กับ router เท่านั้น

Start 

เมนูนี้ใช้ในการสั่งให้ router หรือ อุปกรณ์ ที่เลือกไว้ เริ่มต้นการทำงาน  การทำงานแบบนี้
เป็นแบบเดียวกับ การใช้คำสั่ง suspend แล้วตามด้วยชื่อ router  ของ dynagen

Stop

เมนูนี้ใช้ในการสั่งให้ router หรือ อุปกรณ์ ที่เลือกไว้ หยุดการทำงาน การทำงานแบบนี้
เป็นแบบเดียวกับ การใช้คำสั่ง stop แล้วตามด้วยชื่อ router  ของ dynagen

เมื่อสั่ง stop ไปที่อุปกรณ์ตัวไหนแล้ว เมื่ออุปกรณ์ตัวนั้นหยุดการทำงาน หากว่าเราได้เปิดหน้าจอของ
โปรแกรมสื่อสาร ที่เราใช้ในการ console เข้าไปที่อุปปกรณ์เอาไว้ เมื่อเราไปคลิกที่หน้าจอเหล่านั้น
หน้าจอที่ค้างอยู่ ก็จะถูกสั่งปิดตามอุปกรณ์ลงไปด้วย ....

Suspend

เมนูนี้ใช้ในการสั่งให้ router หรือ อุปกรณ์ ที่เลือกไว้พักการทำงานชั่วคราว ยังไม่เป็นการหยุดการทำงาน
การทำงานแบบนี้ เป็นแบบเดียวกับ การใช้คำสั่ง suspend แล้วตามด้วยชื่อ router  ของ dynagen

Idle PC

เมนูนี้ใช้ในการคำนวนหาค่า และ ตั้งค่า idle pc ให้กับ router เพื่อใช้ลดการใช้งาน cpu ของโปรแกรม dynamips-wxp ซึ่งเป็น
ตัวที่ใช้จำลอง router ขึ้นมาใช้  หลังจาคลิกแล้วระบบจะทำการคำนวนค่าซักครู่ เพื่อหาค่า idlepc ที่เหมาะสม ซึ่จะำสามารถทำให้
การใช้งาน cpu นั้นลดลง หลังจากคำนวนได้ค่าที่เหมาะสมแล้ว gns3 ก็จะแสดงออกมาเป็น list ให้เราเลือก โดยที่ค่าที่เหมาะสม
จะถูกทำเครื่อหมาย * เอาไว้ข้างหน้า ให้เราเลือกค่าที่ต่ำที่สุดมาใช้งาน จากนั้นก็ลองตรวจสอบการใช้ cpu ใน task manger ดู

ถ้าค่าที่ได้ ไม่ได้ทำให้การใช้งาน cpu ของ dynamips ลดลง เราก็สามารถทำกระบวนการนี้ ซ้ำอีกก็ได้ จนกว่าจะพอใจ ค่าที่ตั้ง
ให้กับ router นั้น จะถูกนำไปกำหนดให้กับ ios image ที่ router ตัวนั้นใช้งานอยู่ด้วย ดังนั้น ถ้าเราสร้าง router หลายๆตัว แต่ว่า
router แต่ละตัวมีการใช้งาน ios images ตัวเดียวกัน ก็ทำกระบวนการนี้เพียงครั้งเดียว ที่ router ตัวใดตัวนึงก็พอ

Startup-config

กำหนดค่า path หรือ ชื่อไฟล์ ที่จะใช้งานเป็น startup-config ของ router ตัวที่เราต้องการ การตั้งค่าตรงนี้
จะเหมือนกับการที่เราใส่ค่า cnfg = ลงไปในข้อมูล router ของ network files ของ dynamips/dynagen

Delete   

เป็นเมนูที่ใช้ในการลบ icon ของอุปกรณ์ที่เราเลือก ออกไปจาก workspace


ถ้าเราเลือกที่อุปกรณ์แค่ตัวใดตัวหนึ่ง แล้วกดคำสั่งตามเมนู ระบบก็จะทำการใช้คำสั่งนั้น กับอุปกรณ์ตัวนั้นตัวเดียว
แต่ถ้าเราเลือกอุปกรณ์มากกว่า 1 ตัว แล้วเราคลิกเมนูอะไรก็ตาม จะถือเป็นคำสั่งให้กับอุปกรณ์ตัวที่เลือกทั้งหมดด้วย
« Last Edit: 19 ธันวาคม , 2009, 02:10:07 pm by = Aegis = »
... ขอให้ความรู้ทั้งหลายจงเป็นสมบัติของโลก ..
@ This Document is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Unported  @