Author Topic: Basic Kickstart Automated Installations  (Read 35690 times)

0 Members และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

creative

  • DEV Team
  • Layer 7
  • ****
  • Posts: 9880
  • จิตพิสัย +25/-0
Basic Kickstart Automated Installations
« on: 13 มีนาคม , 2015, 03:49:57 pm »
Basic Kickstart Automated Installations


1. Kickstart อะไรคือ
2. การติดตั้ง Kickstart
3. การสร้างไฟล์ Automated Installations ks.cfg
4. การนำไฟล์ ks.cfg ไปใช้งาน
5. ทดสอบการติดตั้งระบบจากไฟล์ ISO


1. Kickstart คืออะไร [onion56]

Kickstart เป็นโปรแกรมสร้างการตั้งค่าการติดตั้งอัตโนมัติโดยอาศัยไฟล์ ks.cfg ที่มีการเขียน script การติดตั้งเอาไว้แล้ว เช่น Network Configuration,Firewall Configuration,Package Selection, และที่สำคัญเราสามารถใส่ Installation Script ลงไปในไฟล์ ks.cfg ได้เลย ไฟล์ ks.cfg สามารถเก็บไว้หลายที่เช่น CD or DVD drive,Hard Drive,HTTP Server,FTP Server,NFS Server ในบทความผู้เขียนจะเก็บไว้ในแผ่นติดตั้ง Linux เลยครับเพราะสะดวกต่อการเรียกใช้งาน
ผู้ดูแลระบบหลายคนอาจจะประสบปัญหาการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux สำหรับห้อง Lab ต่างๆจำนวนหลายเครื่องในเวลาเดียวกันในการติดตั้ง สำหรับนักศึกษาอาจจะนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาโปรเจ็คนักศึกษา ที่ต้องการสร้างแผ่นติดตั้ง Linux Distro เป็นของนักษาเอง (ในยุคของผู้เขียนเองก็พยายามหาข้อมูลแต่...ตอนนั้นการแชร์ข้อมูลยังไม่เป็นที่แพร่หลายยังเป็นเรื่องธุรกิจอยู่ )

2. การติดตั้ง Kickstart
การติดตั้ง Kickstart สามารถทำได้สองวิธีที่ผู้เขียนลองมาแล้ว แต่จะขออธิบายแบบติดตั้งผ่านโหมด GUI เพราะสะดวกไม่ยุ่งยากสามารถเลือก Package ที่จะติดตั้งลงไปเลยครับ เริ่มจากเปิด Package  Manager ไปที่แท็ป Search >> ค้นหา Package ชื่อ Kickstart   เลือก Package pykickstart-0.43.9-1.el5.noarch,system-config-kickstart.noarch:2.6.19.9-2.el5 (ณ ปัจจุบัน 12 มีนาคม 2558 ผู้เขียนใช้ Centos 5.8 i386)คลิกที่ Apply รอสักครู่ครับ


3. การสร้างไฟล์ Automated Installations ks.cfg
ในการสร้างไฟล์ Automated Installations นั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการนำไฟล์ ks.cfg จากแผ่นติดตั้ง Linux ออกมาแก้ไขด้วยโปรแกรม Text Editor ทั่วไป และอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนจะแสดงวิธีทำในบทความนี้คือ การใช้ Kickstart Configurator (ผู้เขียนจะขอเรียกว่า Kickstart ครับ) ใน Centos โหมด  GUI ครับเปิด Kickstart 

3.1  กำหนดการตั้งค่าใน Basic Configuration “หากเราไม่ใส่ Root Password ตอนติดตั้งระบบจะให้กรอก Root Password ครับ ในตัวอย่างผู้เขียนจะใส่ Root Password ลงไปด้วย”


3.2  ใน Installation Method  ให้เลือก Perfrom New Installation และ CD-Rom


3.3  Boot Loader Opptions เลือก Install new boot loader และ Install boot loader on  Master Boot Record (MBR)


3.4  Partition Information ให้เรากำหนดตามความเหมาะสมครับ ผู้เขียนจะขอแสดงวิธีการแบ่ง Partition ดังภาพเพื่อเวลาติดตั้งจริงเราจะสามารถกำหนดเองได้ครับ


3.5  Network Configuration ให้เราเพิ่ม NIC (Network Interface Card) เข้ามาในตัวอย่างจะเป็น eth0 ครับ ในขั้นตอนนี้เราสามารถตั้งค่า IP Address เองได้เลยหรือจะรับ IP Address จาก DHCP Server ก็ได้ครับ




3.6  Authentication ปกติ Kickstart จะเลือก Use Shadow Password และ Use MD5 ให้อยู่แล้ว


3.7  Firewall Configuration ตรง Security Level ถ้าเป็นการติดตั้งเพื่อทดลองก็สามารถ Disbled เลยก็ได้ครับ Selinux ก็เช่นเดียวกันครับ Disbled (ในตัวอย่างผู้เขียน Disbled เพราะไม่เน้นเรื่องความปลอดภัยครับ ^_^ แต่ถ้าเอาไปใช้จริงๆไม่ควรเลือก Disbled ครับ)


3.8  Display Configuration อันนี้เราเลือกปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมครับ


3.9  Package Selection เป็นการเลือกติดตั้ง services ต่างๆที่เราต้องการติดตั้งลงไปครับ เช่น Mysql Server,HTTP Server,FTP Server เป็นต้น


3.10  เมื่อปรับแต่งค่าต่างๆตามที่เราต้องการแล้ว  เราสามารถ Preview ไฟล์ ks.cfg ที่เรากำลังจะสร้างได้ที่เมนู File >> Preview


3.11  ขั้นตอนการบันทึก File >> SaveFile (สังเกตุชื่อไฟล์จะเป็น ks.cfg) [onion47]
* Pre Installation-Script และ Post Installation-Script ผู้เขียนจะขอแยกเนื้อหาส่วนนี้ออกเป็นอีกหนึ่งบทความหนึ่งครับ

4. การนำไฟล์ ks.cfg ไปใช้งาน
เมื่อเราได้ไฟล์ ks.cfg มาแล้ว  ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการนำไฟล์ ks.cfg ไปใช้งานกันครับ  เริ่มต้อนจากการดาวน์โหลดไฟล์ image ของ CentOS มาเก็บไว้ที่เครื่องก่อน  ซึ่งเราจะนำไฟล์ isolinux.cfgที่อยู่ข้างในออกในออกมาแก้ไขดังนี้ครับ
4.1 เปิดไฟล์ image ขึ้นมาโดยใช้โปรแกรม  UltraISO (ผู้เขียนจะใช้ไฟล์  CentOS-5.10-i386-bin-DVD-1of2.iso เป็นไฟล์ต้นฉบับในการแก้ไขครับ)
4.2 เข้าไปนำไฟล์ isolinux.cfg  อยู่ใน  cd/:isolinux

 

4.3 เปิดไฟล์  isolinux.cfg  ขึ้นมาด้วยโปรแกรม text editor
 
ค้นหาบรรทัด 
Code:
Only registered users can see contents. Please click here to Register or Login.
เป็น
Code:
Only registered users can see contents. Please click here to Register or Login.


เสร็จแล้วบันทึกไฟล์

4.4  นำไฟล์  isolinux.cfg  ที่แก้ไขเสร็จแล้วกลับเข้าไปยังไฟล์  image  (ลากไฟล์เข้าไปในหน้าจอโปรแกรม UltraISO ได้เลยครับ)


4.5  นำไฟล์  ks.cfg   ไปเก็บไว้ในไฟล์  image 

4.6  บันทึกไฟล์โดยคลิกที่เมนู  File >> Save As… 
4.7  จากขั้นตอนทั้งหมดเราจะได้ไฟล์ .iso  พร้อมที่จะนำไฟล์เบิร์นลงแผ่นแล้วแต่เพื่อความแน่นอนเราจะนำไปทดสอบติดตั้งกับโปรแกรม Vmware Workstation ดูก่อนในหัวข้อถัดไปครับ

5. ทดสอบการติดตั้งระบบจากไฟล์ ISO

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=fd7reONO3DI" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=fd7reONO3DI</a>

หากเนื้อหาส่วนไหนตกหล่นหรือผิดพลาดตรงไหน รบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ช่วยแนะนำด้วยครับ  ขอบคุณครับ [onion52]
« Last Edit: 13 มีนาคม , 2015, 08:28:00 pm by creative »