Author Topic: Classful กับ Classless  (Read 23918 times)

0 Members และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

TCK2534

  • Layer 1
  • *
  • Posts: 10
  • จิตพิสัย +0/-0
    • Email
Classful กับ Classless
« on: 15 มิถุนายน , 2014, 09:29:15 pm »
อ้างอิงจากหนังสือ ccna

Classless addressing: The concept that an IPv4 address has two parts - the prefix part plus the host part - as defined by the mask, with no consideration of the class (A,B,C).
Classful addressing: The concept that an IPv4 address has three parts - the network, subnet and host - as defined by the mask and Class A,B and C rules.

พี่ๆ ช่วยอธิบายผมให้กระจ่างทีได้ไหมครับ ว่ามันต่างกันยังไง (เอาแบบละเอียดๆ)
ผมอ่านในเว็บหลายๆเว็บ ก็ไม่ได้ข้อสรุปซักที
ตอนนี้สับสนมึนงงมาก ขอบคุณมากๆครับ

ปล. ผมสงสัยเหมือนเจ้าของกระทูนี้อ่ะครับ
http://www.sadikhov.com/forum/index.php?/topic/170382-quick-question-classlessclassful-ccna-icnd2-ciscopress/
 [onion79]
โอ้โห นี่หรือบางกอก

ReFeeL

  • Head Master
  • Layer 4
  • *
  • Posts: 484
  • จิตพิสัย +9/-0
    • Email
Re: Classful กับ Classless
« Reply #1 on: 16 มิถุนายน , 2014, 09:36:48 am »
ขออนุญาติแก้ไขข้อความเนื่องจากผมอ่านไม่เคลียเอง ขอโทษทีครับ

classful แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ network , subnet, host (มองตาม class A ,B , C ) และตามกฎ first bit octet rule
classless แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ network , host ไม่มีส่วน bit ที่เป็น subnet (ไม่ได้มอง class A , B , C ละ) จะถูกระบุว่าส่วนไหนเป็น network หรือ host ตาม subnetmask

การแบ่ง bit ที่เป็น subnet มาจากการใช้งานของ classful ที่ไม่ variable เลยเอามาทำเป็น subnetwork ย่อยๆ แต่ยังคงอ้างอิงตาม classful

เว็บนี้น่าผมว่าเค้าอธิบายเคลียร์อยู่นะครับ หรือไม่ก็อ่านหนังสือเล่มสีฟ้าของ อาจารย์ เอกสิทธิ์ ครับ
http://www.cisco.com/c/en/us/support/docs/ip/routing-information-protocol-rip/13788-3.html
« Last Edit: 18 มิถุนายน , 2014, 09:09:16 am by ReFeeL »

At lease 8

  • VIP Member
  • Layer 4
  • *****
  • Posts: 329
  • จิตพิสัย +4/-0
    • Email
Re: Classful กับ Classless
« Reply #2 on: 19 มิถุนายน , 2014, 01:55:54 pm »
IP Address v4 มีด้วยกัน 32 bit หมายความว่าจะมีแอดเดรสได้ 2 ยกกำลัง 32 คือประมาณ 4 พันล้านแอดเดรส เมื่อก่อนดูเหมือนเยอะ แต่เมื่ออินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นมาก็น้อยลงทันตา
ปัญหาไอพีหมดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุค 2000 ก่อนหน้านั้นวิธีการจ่ายไอพีให้กับองค์กร บริษัท และหน่วยงานต่างๆจะจ่ายกันที่ละมากๆ ตามคลาสที่ได้คือ A, B, C
Class A มีไอพีต่อหนึ่งเครือข่าย คือ 2 ยกกำลัง 24 = 16,777,216   เริ่มต้นตั้งแต่ 0.0.0.0-127.255.255.255  subnet 255.0.0.0
Class B มีไอพีต่อหนึ่งเครือข่าย คือ 2 ยกกำลัง 16 = 65,536         เริ่มต้นตั้งแต่ 128.0.0.0 - 191.255.255.255 subnet 255.255.0.0
Class C มีไอพีต่อหนึ่งเครือข่าย คือ 2 ยกกำลัง 8 = 256         เริ่มต้นตั้งแต่  192.0.0.0 - 223.255.255.255 subnet 255.255.255.0

ทุกอย่างมันถูกจัดสรรเรียบร้อยตามหมายเลขไอพี และค่า Subnet ก็ถูกเลือกมาแล้ว คิดว่าเป็นหวยล็อคเลยทีเดียว  เช่นไอพี 100.10.10.10 ก็จะอยู่ใน
เครือข่าย 100.0.0.0 มี subnet เป็น 255.0.0.0 ถือว่ามันใหญ่มากๆ มีแอดเดรสถึง 16 ล้านแอดเดรส ลองคิดดูว่าถ้าคุณส่ง Broadcast ออกมาที่ 100.255.255.255 จะมีคนรอฟังอยู่มากขนาดนี้ื และ ถ้าให้เขาตอบกลับมา ก็จะมีแพ็กเก็ตจำนวนมหาศาลวิ่งมาหาเครื่องของคุณ เราเตอร์ หรือ สวิตช์ใดๆก็รับไม่ไหว  การแบ่งประเภทนี้จึงกลายเป็นอุดมคติไป ทั้ง Class A, B เพราะมันใหญ่ไป แต่มันจะถ฿กนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่นการขายช่วงแอดเดรสใหญ่ๆ ไปให้ ภูมิภาค จากนั้นก็แบ่งจำหน่ายไปตามประเทศ และตาม ISP ย่อยๆ นี่จึงกลายเป็นส่วนของ Classless ขึ้นมา

ใน Classless นี้ประยุคขึ้นให้สอดรับกับ CIDR (Classless Inter Domain Routing) หมายความว่า เราจะทำการเราท์ติ้ง หลาย Classless ระหว่างโดเมนกันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกจัดการมาเบื้องต้นจากองค์ที่มีชื่อว่า ICANN ทำหน้าที่ทั้งจัดสรรหมายเลข IP Address และโดเมน   IP Address Class ใหญ่ๆ นี้ถูกแบ่งขายออกไปเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ ISP จะเป็นผู้นำมาใช้ ทั้งให้กับผู้ใช้ทั่วไป หรือขายไปให้องค์ต่างๆ ทั้งสถาบันการเงิน ผู้ที่มี IP Address Classful คลาสใหญ่ๆที่ต้องจัดการแบ่งเป็น Classless จะมีแต่สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ส่วนบริษัทเล็กๆ จะได้หมายเลขไอพีที่แบ่งมาเรียบร้อย ปกติจะใข้เพียง 1-2 ไอพีเท่านั้น แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ของตนเองอาจจะซื้อเป็น Class C ย่อยๆแล้วนำมาจัดการเองได้   เป้าหมายหลักของ Classless คือ การใช้ไอพีให้มีประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลือง  และทำให้การเราท์ติ่งง่ายขึ้น หากเราทำแบบไม่สนใคร Classless  ที่แบ่งมาอาจจะอยู่ต่างภูมิภาค หรือต่าง ISP นั่นจะทำให้ Routing Table มีขนาดใหญ่ และไม่มีประสิทธิภาพได้ 
ก้าวต่อไป ลองสอบ CCIE SP