ปกติจะเน้นที่ L3 เป็นหลัก โดยเริ่มแรกจะสร้าง Routing Table จาก Routing Protocol ต่างๆ เช่น RIP, EIGRP, OSPF, BGP (ทำงานผ่าน TCP/IP port 676) ในขบวนการสร้าง Routing Table นั้น Router จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลว่า Network ที่มีอยู่ เท่าไหร่ เข้าถึงได้หรือไม่ จากนั้นก็จะทำการลดขนาด routing table โดยผ่าน auto summary ซึ่งจะพิจารณาจาก Class และ Subnet บน Router ตัวนั้นก็จะพิจารณา Packet (L3) ที่เข้ามาว่าจะเดินทางไปไหน (Destination Address) มีเส้นทางใน Routing Table หรือไม่ หากมีก็จะส่งออกไปที่อินเทอร์เฟสนั้นๆ หากไม่พบก็จะส่งไปยัง Default Route (0.0.0.0) แต่ถ้าไม่มี Default Route ก็จบตรงนี้ ไม่มีทางไป
การทำงานของ Router จะพิจารณาแบบ Hop by Hop แล้วแต่ Router ตัวนั้นจะตัดสินใจว่าอย่างไร ตาม Routing Table ที่มีอยู่ หากมี local policy หรือ route-map กำหนดให้ไปทางอื่น เฉพาะเงื่อนไข ก็ทำได้ หากจะเก่งเรื่อง Router อยากให้เน้นส่วนของ OSPF และ BGP เนื่องจากเป็น open standard
L4 Transport ใน Layer นี้ใช้หมายเลข Port และชนิดของ Protocol TCP/UDP เป็นตัวจำแนก ว่าจะส่งอย่างไรไปถึงปลายทางให้ชัวร์ หรือ ส่งแบบธรรมดา ซึ่งทั้งสองจะกินทรัพยากรต่างกันมาก โดยเฉพาะการส่งให้ชัวร์ (TCP) นั้นจะต้องมีการสร้างการเชื่อมต่อขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลออกไป หากหายหรือมีปัญหาระหว่างทางก็จะส่งใหม่ เพราะมีการบันทึกการส่งไว้ แต่ถ้าข้อมูลไม่สำคัญ (UDP) ก็จะส่งไปโดยไม่ต้องมีพิธีการมาก ไม่มีการบันทึก หากข้อมูลหาย ให้ Layer สูงๆ จัดการเอง ซึ่งอาจมีการจัดการให้ส่งข้อมูลมาชุดใหม่อีกก็ได้
L3 Packet IP network ในระดับนี้ Host ทำหน้าที่ส่ง Packet ว่าจะไปไหน เดินทางไปอย่างไร ให้ Router รับผิดชอบ ส่วนใหญ่ตัว Packet จะมีขนาดเท่าเดิม แต่ถ้าในเส้นทางมีการกำหนด MTU ไม่เท่ากัน ก็มีโอกาสที่จะถูกแตกออกเป็น Packet ย่อยๆได้ L3 จะทำหน้าที่เข้าคู่กับ L2 อย่างสอดคล้อง ตัวอย่างเช่น การส่งข้อมูลไป IP Address A (L3 Address) คุณต้องทราบถึง Mac Address (L2 Address) จึงจะส่งไปหาได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำผ่านขบวนการ ARP Request
L2 Frame 802.3 (LAN) 802.11 (Wifi) มาตราฐานที่กำหนดนี้จะครอบคลุมลงถึงระดับล่าง L1 ว่าสัญญาณจะเป็นอย่างไร เข้ารหัสแบบไหน ส่งผ่าน Media แบบไหน มีความเร็วเท่าไหร่ Frame จะถูก Encap และ Decap ทุกครั้งที่ข้ามเครือข่าย ในส่วนของ Address , Frame Check Sequence (CRC) เพราะ L2 Address (Mac address) นี้จะเปลี่ยนไปทุก Hop
L1 Signal
การทำงานของ Router จะพิจารณาแบบ Hop by Hop แล้วแต่ Router ตัวนั้นจะตัดสินใจว่าอย่างไร ตาม Routing Table ที่มีอยู่ หากมี local policy หรือ route-map กำหนดให้ไปทางอื่น เฉพาะเงื่อนไข ก็ทำได้ หากจะเก่งเรื่อง Router อยากให้เน้นส่วนของ OSPF และ BGP เนื่องจากเป็น open standard
L4 Transport ใน Layer นี้ใช้หมายเลข Port และชนิดของ Protocol TCP/UDP เป็นตัวจำแนก ว่าจะส่งอย่างไรไปถึงปลายทางให้ชัวร์ หรือ ส่งแบบธรรมดา ซึ่งทั้งสองจะกินทรัพยากรต่างกันมาก โดยเฉพาะการส่งให้ชัวร์ (TCP) นั้นจะต้องมีการสร้างการเชื่อมต่อขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลออกไป หากหายหรือมีปัญหาระหว่างทางก็จะส่งใหม่ เพราะมีการบันทึกการส่งไว้ แต่ถ้าข้อมูลไม่สำคัญ (UDP) ก็จะส่งไปโดยไม่ต้องมีพิธีการมาก ไม่มีการบันทึก หากข้อมูลหาย ให้ Layer สูงๆ จัดการเอง ซึ่งอาจมีการจัดการให้ส่งข้อมูลมาชุดใหม่อีกก็ได้
L3 Packet IP network ในระดับนี้ Host ทำหน้าที่ส่ง Packet ว่าจะไปไหน เดินทางไปอย่างไร ให้ Router รับผิดชอบ ส่วนใหญ่ตัว Packet จะมีขนาดเท่าเดิม แต่ถ้าในเส้นทางมีการกำหนด MTU ไม่เท่ากัน ก็มีโอกาสที่จะถูกแตกออกเป็น Packet ย่อยๆได้ L3 จะทำหน้าที่เข้าคู่กับ L2 อย่างสอดคล้อง ตัวอย่างเช่น การส่งข้อมูลไป IP Address A (L3 Address) คุณต้องทราบถึง Mac Address (L2 Address) จึงจะส่งไปหาได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำผ่านขบวนการ ARP Request
L2 Frame 802.3 (LAN) 802.11 (Wifi) มาตราฐานที่กำหนดนี้จะครอบคลุมลงถึงระดับล่าง L1 ว่าสัญญาณจะเป็นอย่างไร เข้ารหัสแบบไหน ส่งผ่าน Media แบบไหน มีความเร็วเท่าไหร่ Frame จะถูก Encap และ Decap ทุกครั้งที่ข้ามเครือข่าย ในส่วนของ Address , Frame Check Sequence (CRC) เพราะ L2 Address (Mac address) นี้จะเปลี่ยนไปทุก Hop
L1 Signal